͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ไบโอแก๊ส วัดสระแก้ว พลังทดแทนจากมูลไก่โรงเรียน

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 51

ไบโอแก๊ส วัดสระแก้ว พลังทดแทนจากมูลไก่โรงเรียน

โรงเรียนวัดสระแก้ว ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมกจ.อ่างทอง เป็น สถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า ยากจน ด้อยโอกาสและถูกทอดทิ้ง ในคาบเวลายาวนานมาถึง 65 ปี โดยได้รับความอุปถัมภ์จากพระสงฆ์วัดสระแก้ว ช่วยเหลือดูแล มาอย่างต่อเนื่อง

สถาบันแห่งนี้ได้ให้โอกาสกับเด็กๆทั้งหลาย ให้ มุ่งเน้นกิจกรรมในงานอาชีพ เพื่อที่จะได้นำออกไปใช้กับชีวิตจริง โดยแบ่งพื้นที่บางส่วนทำการเกษตร เลี้ยงไก่พื้นบ้าน ปลูกผัก เลี้ยงปลา แล้วนำผลผลิตไปขาย โดย นางมยุรี ศรีนาค อาจารย์ใหญ่เป็นผู้สนับสนุนและดูแล

ต่อมา นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ กับ คุณหญิงเทวี เจียรวนนท์ ได้เห็น กิจกรรมที่เป็นลักษณะสอนให้เด็กพึ่งพา และ เลี้ยงตัวเอง จึงให้การ สนับสนุนส่งเสริมเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 100 ตัวในโรงเรือนเปิด พร้อมทั้งติดตามดูแลว่าเกิดประโยชน์ กับเด็กมากน้อยเพียงไร

อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสระแก้ว เล่าว่า... การเลี้ยงไก่ไข่ ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระแก้ว มีการจดบันทึกเป็นข้อมูล ทุกระยะและขั้นตอน อันจะทำให้การจัดการเกิดความผิดพลาดสูญเสียน้อยลง เพื่อสอนให้เกิดการสังเกตและจดจำ

ผลผลิตมีการจัดแบ่งส่วนผลิตผลเพื่อบริโภคในโรงเรียนและนำไปขายสู่ตลาดภายนอก ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนไก่ไข่เป็นหมื่นตัว พร้อมทั้งสร้างโรงเรือนระบบปิด และ ซีพีเอฟ ได้ส่ง สัตวบาล และ เจ้าหน้าที่ เข้ามาแนะนำให้ อาจารย์ และ เด็กนักเรียน เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งระบบ นักเรียนคนไหนที่จบไปแล้ว แต่ยังรักโครงการเลี้ยงไก่ไข่ก็ให้ จ้างเป็นพนักงานในฟาร์มดูแลสืบสานอาชีพการเลี้ยงไก่ ให้เป็นอาชีพที่เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้

นายประธาน จองปั่น รองกรรมการผู้จัดการธุรกิจครบวงจรฯ ซีพีเอฟ เสริมเกี่ยวกับการตลาดว่า ประสานการซื้อขายกันในลักษณะประกันราคา บริษัทรับซื้อไข่คละหน้าฟาร์มฟองละ 1.90 บาท และแม่ไก่ปลดระวางกิโลกรัมละ 22 บาท

นางมยุรี ศรีนาค บอกถึงผลพลอยได้ว่า ช่วงที่เลี้ยงปีแรกมูลไก่มีมากถึงวันละ 8 ตัน แม้โรงเรียนจะนำไปใช้ทำเกษตรและ ขายให้ชาวบ้าน เมื่อไม่หมดก็มีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

ซีพีเอฟ จึงมอบหมายให้ นายเรวัต โพธิจักร์ สัตวบาลส่งเสริมดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ฯ มาช่วยวางระบบ Cover lagoon รองรับมูลไก่ แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม หลังจากใช้พลังงานทดแทนโรงเรียน ประหยัดค่าใช้จ่าย จากเดิมเคยจ่ายค่าไฟฟ้าเดือน 130,000 บาท ปัจจุบันเหลือเพียงเดือน ละ 20,000 บาท และยัง ช่วยแก้ปัญหาเรื่องมลภาวะ

ปัจจุบันโครงการเลี้ยงไก่ไข่ และ การผลิตไบโอแก๊สฯ ของ โรงเรียนวัดสระแก้ว เป็นแม่แบบให้สถาบันต่างๆ ทั้งโรงเรียนในจังหวัดอ่างทอง และใกล้เคียง ได้เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องมันเป็นความสำเร็จ ของเด็กๆ 1,200 กว่าคน ที่ถูกมองว่าเป็นผู้ด้อยฯ ได้มีโอกาสภูมิใจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 30 มกราคม 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=77003

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology