͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

'เพชรดำรง' ขนุนลูกผสมพันธุ์ใหม่ น้ำหนัก 5 ยวงต่อ 1 กิโลกรัม

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 51

'เพชรดำรง' ขนุนลูกผสมพันธุ์ใหม่ น้ำหนัก 5 ยวงต่อ 1 กิโลกรัม งานพัฒนาสายพันธุ์ขนุนในประเทศไทย มีมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่มีการค้นพบขนุนพันธุ์ฟ้าถล่ม จาก จ.ปราจีนบุรี ที่มีคุณสมปอง ตวงทอง เป็นเจ้าของพันธุ์ ตั้งแต่นั้นมามีขนุนพันธุ์ดีแพร่หลายตามมาอีกหลายสายพันธุ์ ที่เห็นโด่งดังและมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากคือ พันธุ์ทองประเสริฐและพันธุ์ศรีบรรจง จนมาถึงปัจจุบันเกษตรกรเริ่มหันมาปลูกพันธุ์แดงสุริยา เป็นขนุนที่มีเนื้อสีแดงจัด อย่างไรก็ตามขนุนพันธุ์ดีที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นได้จากการคัดเลือกพันธุ์จากต้นที่เกิดจากเมล็ดแล้วกลายพันธุ์มาดีและมีการขยายพันธุ์ปลูกต่อด้วยวิธีการทาบกิ่งหรือเสียบยอด จากการสำรวจสายพันธุ์ขนุนยังไม่พบขนุนพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ด้วยฝีมือมนุษย์
 
คุณดำรงศักดิ์ วิริยศิริ เจ้าของสวนบ้านวังทอง เลขที่ 90 หมู่ 4 ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ได้เริ่มโครงการผสมพันธุ์ขนุนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยคัดเลือกขนุนพันธุ์คุณหญิงเป็นพ่อพันธุ์ และใช้พันธุ์ทองประเสริฐเป็นแม่พันธุ์ วิธีการผสมพันธุ์ใช้ดอกตัวผู้ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ส่า” มาผสมกับดอกตัวเมียที่มีก้านใหญ่และมักจะออกมาจากลำต้นหรือกิ่งใหญ่ คุณดำรงศักดิ์แนะนำให้ผสมพันธุ์ ในช่วงเวลาเช้าไม่ควรเกินเที่ยง หลังจากผสมพันธุ์เสร็จให้เอาถุงกระดาษคลุมและเขียนชื่อพ่อ-แม่และวันที่ผสมไว้บนถุง เมื่อผลขนุนแก่นำเมล็ดมาเพาะได้ขนุนลูกผสมประมาณ 50 ต้น และรอจนต้นขนุนเพาะเมล็ดติดผล ผลปรากฏว่า 1 ใน 50 ต้น ได้ขนุนพันธุ์ลูกผสมที่มี ลักษณะดีเด่นมากมายหลายประการ อาทิ จัดเป็นขนุนเนื้อสีเหลืองที่มีความหนามาก ถ้าผลสมบูรณ์เต็มที่เนื้อหนาถึง 2 เซนติเมตร เมื่อนำเนื้อไปชั่งน้ำหนักจะได้  5 ยวงต่อ 1 กิโลกรัม เนื้อมีความแข็งและกรอบเมื่อนำมาแกะขายจะวางตลาดอยู่ได้นานเพราะเนื้อไม่เละ เมล็ดมีขนาดเล็กมากอีกทั้งเยื่อหุ้มเมล็ดบาง  (ในขณะที่พันธุ์ทองประเสริฐมีขนาดของเมล็ดใหญ่กว่าและเยื่อหุ้มเมล็ดหนา) และได้ชื่อสายพันธุ์ว่า “เพชรดำรง” จัดเป็นขนุนสายพันธุ์ดี  ที่น่าส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูกอีกสายพันธุ์หนึ่ง ที่สำคัญเป็นขนุนพันธุ์ดีที่ได้จากความพยายามและผสมพันธุ์ด้วยฝีมือมนุษย์โดยใช้เวลายาวนานถึง 10 ปี เมื่อขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบกิ่งและนำไปปลูกใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี จะเริ่มให้ผลผลิตและมีขนาดน้ำหนักผลเฉลี่ย 8-10 กิโลกรัม ผู้เขียนได้ทดลองชิมขนุนลูกผสมพันธุ์ ดีนี้ต้องยอมรับว่ามีรสชาติหวานอร่อยมาก เหมาะที่จะปลูกเพื่อแกะยวงขาย นอกจากนั้นด้วยความหนาของเนื้อ ยังสามารถนำไปแปรรูปโดยการเชื่อมหรือนำไปทอดแบบทุเรียนทอดกรอบได้
 
การปลูกขนุนในเชิงพาณิชย์ในอนาคตจำเป็นต้องมีการจัดการดูแลเพิ่มเติมกว่าที่เคยปฏิบัติกันมา โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ปุ๋ย และน้ำ ต้นขนุนไม่ชอบสภาพพื้นที่ปลูกที่มีน้ำขังแฉะ หรือมีการระบายน้ำไม่ดี สำหรับเรื่องโรคและแมลงศัตรูขนุนถือว่าน้อยกว่าไม้ผลเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ สามารถผลิตในระบบอินทรีย์หรือปลอดสารพิษได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 17 ธันวาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=185388&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology