͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

แนะดูแลไม้ผลหลังน้ำท่วมทันที

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 51

แนะดูแลไม้ผลหลังน้ำท่วมทันที นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการเกิดอุทกภัยในแหล่งปลูกไม้ผล ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งชาวสวนผลไม้ควรดูแลไม้ผลหลังน้ำท่วมด้วยการหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณนั้นโดยเร็วที่สุด เพื่อรากพืชจะได้รับอากาศ โดยการขุดร่องระบายน้ำ ให้น้ำไหลออกจากพื้นที่สวนให้มากที่สุด หากมีดินหรือทรายที่ถูกน้ำพัดพาไป ทับถมในแปลงไม้ผล ควรทำการขุดหรือปาดออกจากโคนต้นไม้ผล พร้อมให้ตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นการลดการคายน้ำ และเป็นการเร่งให้ไม้ผลแตกใบใหม่เร็วขึ้น  หากกำลังติดผลให้ปลิดผลออกบ้าง เพื่อป้องกันต้นไม้ผลทรุดโทรม
 
นอกจากนี้ หลังน้ำท่วมขณะดินยังเปียกอยู่ เจ้าของสวนและสัตว์เลี้ยงไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำโดยเด็ดขาด ตลอดจนไม่ควรนำเครื่องจักรกลหนักใด ๆ เข้าไปในสวนเพราะจะทำให้ดินเกิดการอัดแน่น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช
 
นายมนตรี กล่าวต่อไปอีกว่า ขณะน้ำท่วมรากต้นไม้ผลจะไม่สามารถดูดกินอาหารจากดินได้ เพื่อช่วยให้ไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ด้วยสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือปุ๋ยสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 ละลายน้ำฉีดพ่น ด้วยการเติมสารจับใบหรือสารป้องกันแมลงตามความจำเป็นประมาณ 2-3 ครั้ง นอกจากนั้น ควรจะเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืชด้วยการพรวนดิน เมื่อดินแห้งเป็นปกติแล้ว พร้อมกับหาสารป้องกันเชื้อราทาบริเวณโคนต้นหรือราดโคนต้น เพื่อป้องกัน โรครากเน่าและโคนเน่า นอกจากนั้นอาจจะปรับปรุงสภาพดินให้เป็นด่างเล็กน้อยด้วยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย ซึ่งจะทำให้ไม้ผลรอดพ้นจากความเสียหายได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 16 ธันวาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=185291&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology