͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

หมอดินรวบรวม 42 พันธุ์หญ้าแฝก วิเคราะห์คุณสมบัติปลูกรายพื้นที่

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 51

หมอดินรวบรวม 42 พันธุ์หญ้าแฝก วิเคราะห์คุณสมบัติปลูกรายพื้นที่ นายบัณฑิต ตันศิริ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินได้รวบรวมพันธุ์หญ้าแฝกที่มีอยู่ทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศ รวมทั้งหมด 42 พันธุ์ เป็นพันธุ์หญ้าแฝกในประเทศ 32 พันธุ์ และต่างประเทศ 10 พันธุ์ พันธุ์หญ้าแฝกเหล่านี้ทางกรมพัฒนาที่ดินได้เก็บพันธุ์ไว้อย่างดีในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การรวบรวมพันธุ์ในแปลงปลูกในดินและในกระถาง ในรูปเนื้อเยื่อ และในรูปของ DNA ซึ่งพันธุ์หญ้าแฝกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้มีการตรวจสอบโดยใช้เทคนิคทางด้านอณูวิทยาเรียบร้อยแล้ว

ในปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดินใช้พันธุ์หญ้าแฝกในการรณรงค์ จำนวน 10 พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ลุ่ม 4 พันธุ์ ได้แก่ กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สุราษฎร์ธานี สงขลา3 และพันธุ์หญ้าแฝกดอน 6 พันธุ์ ได้แก่ กำแพงเพชร1 นครสวรรค์ ร้อยเอ็ด เลย ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์

สำหรับความเหมาะสมของพันธุ์หญ้าแฝกที่ใช้ปลูกในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย มีดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ พันธุ์ศรีลังกา พระราชทาน นครสวรรค์ และกำแพงเพชร1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี สงขลา3 พระราชทาน ร้อยเอ็ด ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี สงขลา3 ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ส่วนภาคใต้ ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี สงขลา 3 และพระราชทาน

สำหรับพันธุ์หญ้าแฝกจากต่างประเทศที่น่าสนใจได้แก่ พันธุ์มอนโต้ ญี่ปุ่น ฟิจิ เวียดนาม บราซิล และอินโดนีเซีย ซึ่งแต่ละพันธุ์ก็มีคุณสมบัติเด่นที่แตกต่างกันออกไป เช่น พันธุ์ญี่ปุ่นเจริญได้ดีในที่อุณหภูมิต่ำและที่สูง พันธุ์เวียดนาม เจริญเติบโตได้ดี และมีมวลชีวภาพสูง เป็นต้น ทางกรมพัฒนาที่ดินได้รวบรวมข้อมูลของแต่ละพันธุ์ไว้ เพื่อเป็นข้อพิจารณานำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป้าหมายที่มีข้อจำกัดในด้านต่างๆ เช่น พันธุ์ที่ปลูกได้ในพื้นที่ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทราย และดินในพื้นที่สูง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกล้าหญ้าแฝกที่มีคุณภาพที่ดีเพียงพอ และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่างๆ แล้วก็ตาม แต่จุดสำคัญที่จะทำให้หญ้าแฝกทำหน้าที่ในการอนุรักษ์ดินและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องปลูกให้ถูกตามหลักวิชาการและควรปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝนเพื่อให้เจริญเติบโตทันในช่วงฤดูฝน และต้องปลูกให้ชิดติดกัน นอกจากนี้การดูแลรักษาหลังการปลูกหญ้าแฝก ค่อนข้างมีความสำคัญเพราะจำทำให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ดี

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 8 ธันวาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=137330

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology