͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

โรงอบไอน้ำมะม่วง รองรับผลผลิตกลุ่มล้านนา

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 51

โรงอบไอน้ำมะม่วง รองรับผลผลิตกลุ่มล้านนา นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ กรมวิชาการเกษตร ได้รับมอบหมายจากจังหวัดแพร่ให้ดำเนินการก่อสร้างโรงอบไอน้ำเพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้เพื่อการส่งออกผลไม้ ที่ ต.แม่จั๊วะ อ.เด่นชัย โดยผู้ว่าฯ ซีอีโอ (CEO) 8 จังหวัดภาคเหนืออนุมัติงบประมาณสนับสนุนการก่อสร้าง จำนวน 60 ล้านบาท ขณะนี้โรงอบไอน้ำฯ ดังกล่าวสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว พร้อมที่จะใช้งานได้ กรมวิชาการเกษตรจึงส่งมอบให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่จั๊วะ รับช่วงต่อในการบริหารจัดการดูแลทั้งระบบ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ และช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้แก่เกษตรกรผู้ปลูก และส่งออกมะม่วงในกลุ่มจังหวัดล้านนา 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ไม่น้อยกว่า 1,000 ราย โดยเฉพาะกลุ่มนำร่องส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพไปยังประเทศญี่ปุ่น

“เดิมประเทศไทยมีโรงอบไอน้ำที่ทำการส่งออก จำนวน 7 โรงงาน อนาคตคาดว่าโรงอบไอน้ำฯ ของจังหวัดแพร่ จะช่วยผลักดันการส่งออกมะม่วงของไทยให้เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งไทยมีปริมาณการส่งออกมะม่วงไปยังญี่ปุ่น ประมาณ 1,606.15 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 154.52 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2551 มีการส่งออกแล้ว ประมาณ 1,424.87 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 171.57 ล้านบาท” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 2 ธันวาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=184061&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology