͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

วิกฤติสหรัฐไม่กระทบกล้วยไม้ เบนเข็มส่งตีตลาดยุโรป-อินเดีย

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 51

วิกฤติสหรัฐไม่กระทบกล้วยไม้ เบนเข็มส่งตีตลาดยุโรป-อินเดีย นายโอฬาร พิทักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึงสถานการณ์การตลาดกล้วยไม้ไทยปี 2550 ว่า ไทยส่งออกดอกกล้วยไม้ปริมาณ 24,564 ต้น มูลค่า 2,545 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2549 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 2.2 แต่หากเปรียบเทียบเป็นค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกดอกไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 สาเหตุ ส่วนหนึ่งคาดว่าเกิดจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศที่ส่งออกไปคิดเป็นมูลค่ามากที่สุด คือ ประเทศญี่ปุ่น 832 ล้านบาท รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา 569 ล้านบาท ดอกกล้วยไม้สกุลที่ส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สกุลหวาย สกุลม็อคคารา สกุลอะแรนดา และสกุลออนซิเดียม ส่วนต้นกล้วยไม้ ประเทศไทยส่งออก ปริมาณ 35.7 ล้านต้น มูลค่า 400 ล้านบาท

โดยปี 2550 ประเทศไทยมีพื้นที่การผลิตดอกกล้วยไม้ประมาณ 20,739 ไร่ ผลผลิต 45,937 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 2,215 กิโลกรัมต่อไร่ โดยผลิตดอกกล้วยไม้สกุลหวายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของการผลิตดอกกล้วยไม้ทั้งหมด พันธุ์ที่ผลิตมาก ได้แก่ โจแดง บอม 17 เอียสกุล แอนนา ซากุระ ขาว 5N ขาวสนาน สำหรับปี 2551 ประมาณการว่า พื้นที่การผลิตดอกกล้วยไม้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 21,757 ไร่ เนื่องจากผลผลิตดอกกล้วยไม้ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนของปีที่ผ่านมา มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดในต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรสามารถขายดอกกล้วยไม้ได้ในราคาสูง จึงเป็นแรงจูงใจให้ผลิตเพิ่มขึ้น

ส่วนพื้นที่ผลิตต้นกล้วยไม้คาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การส่งออกดอกกล้วยไม้ และต้นกล้วยไม้ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในประเทศที่เป็นตลาดหลัก เนื่องจากค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่า และเศรษฐกิจถดถอยในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศที่เป็นตลาดใหม่ การส่งออกคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ได้แก่ ประเทศอินเดีย นิวซีแลนด์ และประเทศในยุโรป ประกอบกับเกษตรกรผลิตกล้วยไม้ไทยพันธุ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดทำให้เป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งหน่วยงานราชการมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดกล้วยไม้มากขึ้น และกระทำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความต้องการกล้วยไม้ไทยอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 5 พฤศจิกายน 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=131749

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology