���͢��¢������Է�ҡ����ѧ����������Postharvest Technology Information NetworkPostharvest Technology�����ɵ���������Ҫԡ���͢������纺��촡���ɵ��ҹ�����ŧҹ�Ԩ��

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เปลี่ยนน้ำเสียเป็น "ไบโอแก๊ส" วิธีดับกลิ่น "เอเชียน น้ำมันปาล์ม"

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 51

เปลี่ยนน้ำเสียเป็น "ไบโอแก๊ส" วิธีดับกลิ่น "เอเชียน น้ำมันปาล์ม"

ด้วยสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมในการช่วยลดมลภาวะทางกลิ่นที่มีผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยในละแวกใกล้เคียงซึ่งเป็นผลมาจากน้ำทิ้งของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ทำให้ "เอเชียน น้ำมันปาล์ม"

ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบรายใหญ่ใน ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ แปลงวิกฤติเป็นโอกาส ด้วยการนำน้ำเสียเหล่านี้มาผลิตเป็น "ไบโอแก๊ส" ป้อนโรงงานเพื่อลดต้นทุน ทั้งยังนำส่วนที่เหลือจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอีกด้วย

"แต่ก่อนมีปัญหามาก กลิ่นน้ำเสียจากโรงงานไปรบกวนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียง เพราะโรงงานเราอยู่ใกล้กับชุมชน ผู้บริหารก็มาร่วมกันหาทางออก จึงได้ข้อสรุปว่าการนำน้ำเสียมาผลิตก๊าซชีวภาพน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เป็นการได้กันทุกฝ่าย โรงงานก็ได้ไฟฟ้าใช้ กลิ่นเหม็นจากน้ำเสียก็ไม่มี และยังช่วยลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมด้วย"

ชาญชิตนาวงศ์ศรี ผู้จัดการโรงงานบริษัทเอเชี่ยน น้ำมันปาล์ม จำกัด ย้อนที่มาของโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ โดยใช้วัตถุดิบจากน้ำเสียของโรงงาน ซึ่งการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตด้วยวิธีผลิตก๊าซชีวภาพเป็นหนึ่งในแผนงานที่บริษัทได้เลือกมาแก้ไขและป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ อีกทั้งยังสามารถนำก๊าซชีวภาพที่ได้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเห็นได้จากปี 2550 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 2.6 ล้านหน่วย ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่สำคัญยิ่งในปัจจุบัน ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าของโรงงานประมาณ 3 แสนหน่วยต่อเดือนเท่านั้น

"เราเป็นโรงงานแรกนะที่กล้าตัดสินใจบำบัดน้ำเสียด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพและพลังงานไฟฟ้า อันเป็นการตอบสนองด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทนเพื่อสอดคล้องกันยุทธศาสตร์จังหวัดในด้านอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน" ชาญชิตยืนยัน

กว่า10 ปีที่ เอเชียน น้ำมันปาล์ม ได้เข้าร่วมโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียของโรงงาน โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยมอบให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการ กระทั่งในปี 2545 บริษัทก็สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้สำเร็จ แล้วนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองในโรงงาน และบางส่วนยังจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คิดเป็นรายได้สูงกว่า 4.9 ล้านบาทต่อปี

ด้านนฤภัทรอมรโฆษิต ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์แผนพลังงานกระทรวงพลังงาน กล่าวระหว่างนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงงานเอเชียน น้ำมันปาล์ม เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เอเชียน น้ำมันปาล์ม ถือเป็นโรงงานต้นแบบที่ใช้เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียโดยใช้ระบบก๊าซชีวภาพ และเป็นแหล่งศึกษาให้แนวทางแก่บริษัทอื่นๆ ในฐานะบริษัทที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การปฏิบัติที่เห็นอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ทั้งยังได้รับรางวัลชนะเลิศ "ไทย เอนเนอจี อวอร์ดส 2007" และ "เอเชี่ยน รีนิวเอเบิล เอเจนซี อวอร์ด 2007" ที่ผ่านมาด้วย

การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยการนำมาผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของบริษัท เอเชียน น้ำมันปาล์ม จำกัด นั้นถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จการคิดค้นพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในกิจการของบริษัทที่ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนการผลิตเท่านั้น แต่ยังช่วยลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมจากกลิ่นได้อีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 28 ตุลาคม 2551
http://www.komchadluek.net/2008/10/28/x_agi_b001_228205.php?news_id=228205

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology