͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

กรมวิชาการเกษตรยันยางพารายังมีอนาคต

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 51

กรมวิชาการเกษตรยันยางพารายังมีอนาคต นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคายางที่ตกต่ำในขณะนี้มีสาเหตุสำคัญมาจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปัจจุบัน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์ ถุงมือทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานก่อสร้าง งานวิศวกรรม ยางกันชนหรือกันกระแทก และฝายยาง ซึ่งจะใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมีความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของยางพาราชะลอการนำเข้ายางจำนวนมาก ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร ได้เชิญผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยาง เพื่อร่วมกันหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข รวมทั้งได้ตรวจสอบสต๊อกยางพาราที่มีอยู่ทั้งหมดภายในประเทศ ก็พบว่า มีปริมาณยางพาราไม่มากและไม่ได้ล้นตลาด ไม่มีผลต่อราคายางที่ตกต่ำ
 
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำ ได้หาแนวทางช่วยเหลือโดยหาแหล่งเงินกู้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจยางเพื่อเข้ามารับซื้อยาง และการเจรจากับประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาการส่งมอบ ด้วยการไม่ยอมรับสินค้า พร้อมทั้งยังได้ประชุมหารือกับ 3 ประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางรายใหญ่ของโลกคือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อออกมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับยางในประเทศทุกแห่ง ยังจะช่วยกันพยุงราคายางไม่ให้ตกต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และผลักดันให้มีราคาสูงขึ้นอีกด้วย คาดว่าอีกไม่นานสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น ดังนั้นในระหว่างนี้เกษตรกรอย่าเพิ่งเร่งจำหน่ายยางพารา ควรเก็บไว้สักระยะเพื่อรอให้สถานการณ์ราคาคลี่คลาย ก่อนจะนำออกมาขายในท้องตลาด ถ้าหากเกษตรกรเทขายในช่วงนี้ จะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 24 ตุลาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=180510&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology