͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

นวัตกรรม 'เครื่องมือเตือนภัย' ทางการเงินสหกรณ์

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 51

นวัตกรรม 'เครื่องมือเตือนภัย' ทางการเงินสหกรณ์

จากข้อมูลของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ระบุว่าสถานภาพการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีสหกรณ์มากที่สุด จำนวน 3,165 แห่ง มีความเสี่ยงทางการเฝ้าระวังทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างวิตก จำนวน 2,552 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80.63 ของจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือร้อยละ 25.41 ของจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั้งประเทศ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็งเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้
 
นายธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงเรื่อง ปัญหาทุจริตของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้มอบหมายให้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะถือเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการดำเนินการของสหกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะขณะนี้กรมฯ ได้พัฒนานวัตกรรมทางการเงินภาคสหกรณ์ CFSAWS:ss (Cooperative Financial Surveillance and Warning System:Set Standard) เป็นระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถช่วยให้การตรวจสอบบัญชีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ป้องกันปัญหาการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นกับสหกรณ์ รวมถึงเป็นระบบที่เปิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปร่วมในการตรวจสอบสถานะทางการเงินของสหกรณ์ได้ หากพบสิ่งผิดปกติก็จะดำเนินการตรวจสอบและสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
 
ทั้งนี้ การจัดทำระบบ CFSAWS:ss ขึ้นมา ก็เพื่อให้กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรรับรู้สถานการณ์ของตนเอง สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขาดทุนหรือวิกฤติทางการเงินจนต้องปิดกิจการลง
 
นายเกรียงศักดิ์ บุณยะสุต โฆษกกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า CFSAWS:ss เป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารงาน ได้แก่ 1.อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 2.อัตราลูกหนี้ที่ชำระได้ตามกำหนด และอัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์ทั้งหมด 3.จัดระดับการวิเคราะห์และเฝ้าระวังทางการเงิน 4 ระดับ ได้แก่ ปกติ มากขึ้น พิเศษ และพิเศษเร่งด่วน และจากการวิเคราะห์สถาน การณ์ทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในภาพรวม ปี 2550 ที่ผ่านมาพบว่า สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจำนวน 10,045 แห่ง มีสมาชิกกว่า 10.11 ล้านครัวเรือน ดำเนินงานภายใต้เงินทุนจำนวนกว่า 883,000 ล้านบาท ผลการตรวจวิเคราะห์ทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ด้วยเครื่องมือ CFSAWS:ss พบว่า สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพียงร้อยละ 25.22 มีผลการจัดระดับวิเคราะห์และเฝ้าระวัง   อยู่ในระดับปกติ นอกจากนั้นคิดเป็นร้อยละ 74.78 มีผลการจัดระดับวิเคราะห์และเฝ้าระวังอยู่ในระดับมากขึ้น-พิเศษ-พิเศษเร่งด่วน
 
เมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้ก็สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขได้ตรงจุดยิ่งขึ้น เช่น ลดค่าใช้จ่ายให้สัมพันธ์กับรายได้ หรือถ้าเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดไม่ได้ต้องสร้างรายได้ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ตลอดจนติดตามเร่งรัดการเรียกเก็บหนี้จากสมาชิกให้ได้ตามกำหนดเวลา หรือมีแผนการปรับปรุงหนี้ให้เป็นระบบ และเพิ่มทุนสำรองให้มากพอ เพื่อเป็นเกราะป้องกันทางการเงิน ถือว่านวัตกรรมใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชิ้นนี้ทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จะได้มีเครื่องมือเตือนภัยทางการเงิน นำไปสู่การบริหารจัดการระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 22 ตุลาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=180287&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology