͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เยือนสวนผลไม้อินทรีย์เมืองจันทบุรี ทำเกษตรอินทรีย์ 100% ด้วยหัวใจที่มุ่งมั่น

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 51

เยือนสวนผลไม้อินทรีย์เมืองจันทบุรี ทำเกษตรอินทรีย์ 100% ด้วยหัวใจที่มุ่งมั่น แดนแห่งความสามัคคี เกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า ชาวประชามีน้ำใจ ตำบลใหญ่ 17 หมู่ พระยอดธงคู่ที่ทำการเจดียสถานเขาน้อย เมืองเรียบร้อยน่าอยู่ คนเชิดชูคุณธรรม…นี่คือ  คำขวัญของ ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ทั้งนี้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของที่นี่เขามี  อาชีพทำสวน โดยเฉพาะมุ่งมั่นในการทำสวนไม้ผลอินทรีย์ เพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้างต่อผู้ใช้ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
 
วันนี้จะพาไปรู้จักกับเกษตรกรดีเด่นของ จังหวัดจันทบุรี คือ นายคำนึง ชนะสิทธิ์ อยู่บ้านเลขที่ 6/1 หมู่ 12 บ้านชำปลาไหล ที่เขาเคย ทำเกษตรด้วยสารเคมีก่อนจะหันมาทำการเกษตรอินทรีย์ เขาเล่าให้ฟังถึงเกษตรกรในพื้นที่ ดังนี้
 
เดิมเกษตรกรในพื้นที่มีการใช้สารเคมีอย่างมากตลอดมา เพื่อรักษาไว้ให้ได้ซึ่งผลผลิตจำนวนมาก กำไรดี จนถึงจุดหนึ่งที่ยิ่งใช้สารเคมี ผลผลิตก็เริ่มลดลงขายผลผลิตได้ทุนคืนเพียงครึ่งเดียว จึงเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่การผลิตในระบบการทำเกษตรอินทรีย์ ในส่วนตัวเองมีพื้นที่ 30 ไร่ ปลูกทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ยึดการใช้สารเคมีมาตั้งแต่ปี 2520 เพราะต้องการให้ได้ผลผลิตมาก ๆ จนกระทั่งได้เดินทางไปประเทศจีนในปี 2535 เพื่อดูงานโรงงานผลิตสารเคมีทางการเกษตร แล้วได้ไปเห็นเกษตรกรในประเทศจีนไม่ใช้สารเคมีในการปลูกพืชเลย ใช้เพียงปุ๋ยหมักทำจากฟางข้าว มูลวัว ส่าเหล้าและผลไม้หมักใส่ในสวนแบบผสมผสาน ทั้ง ๆ ที่จีนเป็นผู้ผลิตปุ๋ยและสารเคมีเอง
 
จากนั้นมาก็มีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะหยุดใช้สารเคมีแล้วหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่ง ในช่วงปีแรกได้เริ่มต้นใช้กับทุเรียนในพื้นที่ 1 ไร่ก่อน แต่ปรากฏว่าเมื่อต้นทุเรียนไม่ได้รับสารเคมีจึงเริ่มมีอาการขาดธาตุอาหาร ตนจึงใช้ปุ๋ยหมักแทนได้ผลดีขึ้น ทุเรียนเจริญเติบโตดีทำให้มีกำลังใจแล้วขยายผลไปสู่ไม้ผลอื่น จนกระทั่งประสบความสำเร็จทำสวนเกษตรอินทรีย์แบบ 100% ภายในปี 2538

“ปุ๋ยเคมีสูตรไหนก็สู้ปุ๋ยอินทรีย์สูตรสมบูรณ์ไม่ได้ เป็นปุ๋ยที่ไม่แรงแต่ทำให้ต้นไม้มีผลผลิตที่ยาวนาน ถ้าเราดูแลดินให้ดีมีความอุดมสมบูรณ์ ต้นจะแข็งแรงไม่มีโรคแมลงมารบกวน” นายคำนึง กล่าวสรุปข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์อย่างชัดเจน
 
นอกจากนี้สวนแห่งนี้ยังปลูกพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดไว้โคนต้นไม้ผล เช่น หน่อแดง กระวาน ว่านสาวหลง เตยหอม ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม สาบเสือ เพื่อขับไล่แมลงศัตรูพืชแถมยังช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุใต้ต้นควบคุมความชื้นในดินด้วย ทุกวันนี้รายได้ของสวนผลไม้อินทรีย์แห่งนี้ถึงจะมีปริมาณผลผลิตใกล้เคียงกับสวนที่ใช้สารเคมี แต่เมื่อเปรียบเทียบถึงต้นทุนการผลิตแล้วล่ะก็สวนไม้ผลอินทรีย์มีต้นทุนถูกกว่าสวนเคมีมากกว่าครึ่ง เพราะไม่ต้องลงทุนค่าปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งลดค่าแรงงานฉีดพ่นยาด้วย ที่สำคัญราคาจำหน่ายผลผลิตจะได้สูงกว่าปกติ 2-4 บาทต่อกิโลกรัม

นายคำนึง เล่าต่ออีกว่า ทุเรียนที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์จะมีผิวสวย หนามสวย น้ำหนักดี เมื่อสุกได้ที่เนื้อทุเรียนจะมีสีเหลือง หวาน กรอบนุ่ม เนื้อเหนียวสุกทั่วถึงพร้อมกันทุกพู ผลผลิต 1 ตัน จะมีหนอนชอนเปลือกทำลายผลผลิตเพียง 10 กก. แต่ถ้าเป็นการใช้สารเคมีจะพบแมลงทำลายมากถึง 200 กก. สำหรับลองกองจะมีรสหวาน กลมกล่อม ผลไม่แตก

นายคำนึง ชนะสิทธิ์ ฝากข้อคิดให้ผู้มีใจมุ่งมั่นในการทำเกษตรอินทรีย์ว่า การทำเกษตรอินทรีย์ทำได้จริงเป็นเรื่องที่ปฏิบัติมาแล้ว ทำแล้วดีจริงหรือไม่ต้องลองทำดูเอา ซึ่งการลงทุนทำนี้ต้องลงทุนด้วยหัวใจที่มุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงแต่ได้ผลระยะยาว

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 20 ตุลาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=180088&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology