͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ดันตั้งองค์กรถาวรบริหารสต็อกข้าวอาเซียน จับมือ จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี สร้างความมั่นคงอาหารภูมิภาค

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 51

ดันตั้งองค์กรถาวรบริหารสต็อกข้าวอาเซียน จับมือ จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี สร้างความมั่นคงอาหารภูมิภาค นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) เผยว่า ในช่วงที่ผ่นมา สศก.ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงาน และจัดตั้งโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก (East Asia Emergency Rice Reserve: EAERR) ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศ+3 คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี รวมเป็น 13 ประเทศ เพื่อศึกษากลไกระบบสำรองข้าวของประเทศอาเซียน+3 ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารกรณีเกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน แก้ไขปัญหาขาดแคลนอาหารและความยากจน และเพิ่มเสถียรภาพราคาข้าวของประเทศสมาชิกทั้ง 13 ประเทศ

ทั้งนี้เนื่องจากตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 ทั่วโลกประสบปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการนำพืชอาหารมาเป็นพืชพลังงานจำนวนมาก ขณะเดียวกันเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้นจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อพืชอาหาร โดยเฉพาะสต็อกข้าวในภาพรวมของโลกลดลงอย่างมาก นานาประเทศหวั่นวิตกว่าจะเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกในอนาคต ประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ก็กังวลจึงได้มีประชุมหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้ง ซึ่งทุกฝ่ายเห็นด้วยให้มีการจัดตั้งโครงการนำร่องเพื่อระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก เป็นองค์กรถาวรภายใต้ชื่อ APTERR (ASEAN plus Three Emergency Rice Reserve Agreement) เพื่อให้การดำเนินงานมีเสถียรภาพยิ่งขึ้นและขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขร่างข้อตกลงว่าด้วยการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออก

นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างเตรียมการจัดตั้งองค์กรถาวรของระบบการสำรองข้าวในเอเชียตะวันออกนี้ จะนำเสนอต่อที่ประชุมครั้งสุดท้ายในปลายเดือนตุลาคมที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม พิจารณาก่อนที่จะประกาศแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงานในกรอบปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงานในกรอบอาเซียน+3 ในงาน ASEAN SUMMIT ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในวันที่ 16 ธันวาคม อย่างไรก็ตาม ถ้าการผลักดันให้เป็นองค์กรถาวรสำเร็จประเทศไทยจะได้รับประโยชน์มหาศาลจากโครงการนี้ โดยเฉพาะการได้เป็นผู้นำด้านข้อมูลข้าวในตลาดของภูมิภาคอาเซียน และเป็นผู้ควบคุมการซื้อขายรวมถึงการระบายสต็อกข้าวของภูมิภาค สร้างอำนาจต่อรองกับประเทศคู่ค้าได้ดียิ่งขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 16 ตุลาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=128409

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology