͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เตือนชาวนา ระวังโรค 'ครีเสก' กรมฯข้าวแนะป้องกันและแก้ไข

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 51

เตือนชาวนา ระวังโรค 'ครีเสก' กรมฯข้าวแนะป้องกันและแก้ไข

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายแห่งยังคงมีฝนตก หนัก ซึ่งแปลงข้าวหลายพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในระยะตั้งท้องและใกล้ออกดอก จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหม้และการระบาดของโรคขอบใบแห้ง สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวถึงอาการของโรคดังกล่าวว่า มีลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบ ล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก แผลจะขยายไปตามความยาวของใบ บางครั้งขยายเข้าไปข้างในตามความกว้างของใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว แผลอาจมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลมๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด หลุดไปตามน้ำหรือฝน ซึ่งจะทำให้โรคสามารถระบาดต่อไปได้ ในบางกรณีที่เชื้อมีปริมาณสูงเข้าทำลาย ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและตายโดยรวดเร็ว ซึ่งเรียกอาการของโรคนี้ว่า ครีเสก

ฉะนั้น เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว เกษตรกรควรใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานปลูก ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากในดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น และหากปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ ควรสังเกตเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากพบแปลงข้าวเริ่มแสดงอาการดังกล่าวควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช แบคบิเคียว (คาโนรอล) หรือ สเตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ออกซีเตทตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ (แคงเกอร์เอ็ก) หรือ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ (ฟังกูราน) หรือไอโซโพรไทโอเลน (ฟูจิวัน) เมื่อเริ่มพบอาการของโรคบนใบข้าว เกษตรกรรายใดมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่ กรมการข้าวในส่วนภูมิภาค หรือที่ศูนย์บริการชาวนา 50 แห่งทั่วประเทศ ในวันเวลาราชการ.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 16 ตุลาคม 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=107820

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology