͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ปลูกกระชายใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่นครสวรรค์

เมื่อวันที่ 22 มกราคม 51

ปลูกกระชายใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่นครสวรรค์ การปลูกกระชายของเกษตรกรไทยส่วนใหญ่มักจะทำเป็นอาชีพเสริม โดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าในสวนหลังบ้านหรือสวนผลไม้เก่า อย่างไรก็ตามมีสวนผลไม้บางชนิดอาจจะไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกระชาย เช่น สวนผลไม้ที่ปลูกมะปรางและมะขาม ไม่ควรปลูกกระชายใต้ร่มเงาของไม้ผลดังกล่าว เนื่องจากต้นกระชายจะยุบตายและไม่ค่อยลงหัว แต่ถ้าปลูกในร่มเงาของไม้ผลจำพวก ขนุน มะม่วง กล้วยหรือต้นสะเดา การเจริญเติบโตของต้นกระชายจะดีมาก มีการลงหัวที่ดีรากอวบใหญ่และได้น้ำหนัก

คุณวิโรจน์ เทียนขาว บ้านเลขที่ 10 หมู่ 11 ต.วัดไทร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 ปลูกกระชายมานานกว่า 20 ปี แต่ครอบครัวปลูกมานานกว่านี้ปลูกมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ การปลูกกระชายในเขตพื้นที่นี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งต้นแบบที่ดีของการทำการเกษตรแบบพอเพียงที่ใช้ประโยชน์ของที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุณวิโรจน์บอกว่ากระชายจัดเป็นพืชล้มลุกที่อายุยืนและเป็นพืช ที่ตอบสนองต่อช่วงแสง คือจะเจริญเติบโตทางลำต้นให้เห็นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนธันวาคม หลังจากนั้นใบจะเหลืองแห้ง คงเหลือแต่เหง้าสดและมีรากติดอยู่ในดินอีก 4 เดือนคือ ช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนเมษายน ในการเตรียมดินปลูกกระชายคล้ายกับพืชอื่นควรจะขุดตากดินอย่างน้อย 1 อาทิตย์ เพื่อให้แสงแดดส่องฆ่าเชื้อโรคและทำลายศัตรูของกระชายให้ลดลง และถ้าจะให้กระชายเจริญเติบโตดีและลงรากใหญ่ควรจะใส่ขี้ไก่ แต่ไม่แนะนำให้ใส่ขี้วัวมีปัญหาเรื่องหญ้า สิ้นเปลืองเวลาในการกำจัดหญ้า

พันธุ์กระชายที่นิยมปลูกในบ้านเราจะ แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ “กระชายพื้นบ้าน” หรือบางคนเรียก “กระชายปุ้ม” เป็นกระชายที่มีรากสั้นและมีปุ้มตรงปลายและจะต้องปลูกภายใต้แสงรำไรเท่านั้น เป็นกระชายที่คนไทยนิยมบริโภคมากที่สุด ราคาดีมีกลิ่นหอมเหมาะต่อการประกอบอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องแกง แต่มีข้อเสียตรงหั่นยาก ในขณะที่อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ “พันธุ์รากกล้วย” ที่นิยมปลูกกันมากในเขต จ.นครปฐม และราชบุรี ปลูกได้ทั้งสภาพพื้นที่แสงรำไรและกลางแจ้ง รากจะยาวตรงและอวบเหมือนรากกล้วยแต่ไม่หอมเหมือนกระชายพื้นบ้าน หลังจากปลูกกระชายไปนานประมาณ 8 เดือน จะเริ่มขุดกระชายขายได้ หลังจากขุดขึ้นมาให้นำไปล้างทำความสะอาด ตัดแต่งเหง้าและรากก่อนที่จะบรรจุลงถุงขาย แต่ถ้าช่วงเวลาที่กระชายราคาไม่ดีให้เก็บกระชายที่ขุดขึ้นมาใส่ในกระสอบปุ๋ยโดยไม่ต้องล้าง (กระชายจะคงสภาพสดและไม่เน่าเสีย) จะล้างก็ต่อเมื่อจะนำไปขายเท่านั้น

คุณวิโรจน์ยังได้บอกว่าการปลูกกระชายเหมือนกับฝากธนาคาร ไม่ต้องรีบขุดขายรอราคาได้ ในรอบปีกระชายจะมีราคาสูงสุดในช่วงฤดูแล้งจนถึงเทศกาลสงกรานต์ ราคาซื้อ-ขายจะเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 22 มกราคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=152245&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology