͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ใช้ก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติกที่อุตรดิตถ์

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 51

ใช้ก้อนเชื้อเห็ดเก่ามาเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติกที่อุตรดิตถ์ ในเขตพื้นที่บ้านสุมข้ามหมู่ที่ 4 ต.นาขุม อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่ราบเชิงเขาติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเหนียว, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง ฯลฯ เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทำให้มีวัสดุเหลือใช้มากมาย ส่วนใหญ่จะนำเอาไปเผาทิ้ง ทางศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านโคก จึงได้เข้าไปส่งเสริมให้นำวัสดุเหลือใช้นั้นมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ นำมาใช้เลี้ยงสัตว์, นำมาทำปุ๋ยหมักใส่ให้กับต้นไม้และ ที่เห็นเป็นรูปธรรมคือนำมาเพาะเห็ดนางฟ้าในถุงพลาสติกและได้มีการต่อยอดด้วยการนำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ให้ดอกหมดแล้วมาเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกและเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับทุกครัวเรือน

วิธีการเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติกของเกษตรกรบ้านสุมข้ามจะเริ่มต้นจากการนำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจากขี้เลื่อยที่ออกดอกหมดแล้ว คัดเลือกเอาก้อนที่ไม่ขึ้นรา มาขยี้ให้แตกออกจากกันแล้ว นำไปตากให้แห้ง นำเศษวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ในท้องถิ่นมาเป็นอาหารเสริม (เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่วชนิดต่าง ๆ ผักตบชวา หยวกกล้วยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแห้ง) แช่น้ำไว้ 1 คืน หลังจากนั้นนำขี้เลื่อยที่ตากแห้งมาพรมน้ำให้ชุ่ม ใส่ลงไปในตะกร้าหนาประมาณ 2 นิ้ว เป็นชั้นที่ 1 นำเศษวัสดุเหลือใช้ชนิดใดก็ได้ (ส่วนใหญ่จะใช้เปลือกถั่วต่าง ๆ เพราะหาได้ง่ายและมีปริมาณมากที่สุด) ใส่ลงในตะกร้าพลาสติกให้มีความหนาประมาณ  2 เซนติเมตร เป็นชั้นที่ 2 นำเชื้อเห็ดฟางมาขยี้ให้แตกออกจากกัน 1 ถ้วยผสมกับรำละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ โรยทับบนอาหารเสริมโรยรอบ ๆ ด้านข้างตะกร้าเป็นชั้นที่ 3 จากนั้นให้ทุกขั้นตอนเหมือนเดิมอีก 1-2 ชั้น นำตะกร้าเห็ดวางสลับซ้อนกัน 2-3 ชั้น ทำโรงเห็ดคลุมด้วยพลาสติกให้มิด ด้านล่างควรมีอิฐทับพลาสติกไว้เพื่อกันพลาสติกปลิว

ภายในโรงเรือนติดเทอร์โมมิเตอร์ โดยเฉพาะในช่วง 1-4 วันแรกจะต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่เฉลี่ย 37-40 องศาเซลเซียส ถ้าพบว่าภายในโรงเรือนอุณหภูมิสูงกว่านี้ให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนออก ใช้วัสดุพรางแสงคลุมช่วยหรืออาจจะรดน้ำรอบ ๆ โรงเรือน เมื่อครบ 4 วัน ให้เปิดผ้าพลาสติกออกอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อถ่ายเทอากาศและให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างจุดกำเนิดดอก ถ้าพบว่าวัสดุแห้งเกินไปให้รดน้ำหรือที่เรียกว่าตัดใยเห็ด ในช่วงระยะเวลาวันที่ 5-8 จะต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่เฉลี่ย 28-32 องศาเซลเซียส (ช่วงนี้จะมีการรวมตัวของเส้นใยเป็นดอกเล็ก ๆ จำนวนมาก) พอเข้าวันที่ 9 ถึงวันที่ 12 จะเก็บดอกเห็ดฟางออกบริโภคหรือจำหน่ายได้

ผลจากการส่งเสริมและเผยแพร่ในการนำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจากขี้เลื่อยที่ออกดอกหมดแล้ว นำมาใช้เพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกของศูนย์การศึกษาฯแห่งนี้ได้สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรบ้านสุมข้ามและยังได้เห็ดฟางไว้บริโภคในครัวเรือนอีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 14 ตุลาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=179582&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology