͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เปิดตัว"ฟาร์มเห็ดชัชวัสส์"โกยรายได้ขาย"โคนญี่ปุ่น"

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 51

เปิดตัว"ฟาร์มเห็ดชัชวัสส์"โกยรายได้ขาย"โคนญี่ปุ่น"

จากมนุษย์เงินเดือนรับเงินจากบริษัทเอกชนเพียงเดือนละหมื่นกว่าบาทแต่หลังจากที่ "ชัชวัสส์ รักเหล่า" ได้เข้ารับการอบรม "คม ชัด ลึก ฝึกอาชีพ" การทำฟาร์มเห็ด "ยานางิ" หรือที่รู้จักกันในนาม "เห็ดโคนญี่ปุ่น"

จาก อ.จิรวุฒิ อินทรานุกูล เจ้าของสวนเห็ดจิรวุฒิ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ และทีมงาน จึงเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการทำธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มองหาธุรกิจเป็นของตัวเอง

"ชัชวัสส์" หนุ่มไฟแรงวัย 31 ปีอยู่บ้านเลขที่ 260 หมู่ 6 บ้านทุ่งน้าวต.ทุ่งน้าว อ.สอง จ.แพร่ เล่าว่า การได้เข้าร่วมอบรมกับ"คม ชัด ลึก" ครั้งนี้ถือเป็นความโชคดีคล้ายกับได้รับส้มหล่น เนื่องจากไม่ได้สมัครด้วยตัวเอง แต่เพราะอดีตเจ้านายชอบบริโภค สนใจที่จะทำฟาร์มและสมัครก่อนหน้านั้น ด้วยวันดังกล่าวกลับติดงานด่วนไม่สามารถเข้าร่วมได้ จึงได้ให้ตนไปแทน

การอบรมครั้งแรกเป็นการให้คำแนะนำและเป็นการเปิดวิสัยทัศน์เรื่องการทำฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นยอมรับว่ามีความรู้น้อยมากและมองไม่ออกว่าธุรกิจนี้จะทำเงินได้จริงหรือไม่ แต่หลังจากวิทยากรอธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับภาพรวมการตลาด ความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่สูงมาก จึงเริ่มมองเห็นโอกาสและตัดสินใจเข้าร่วมอบรมต่อเป็นครั้งที่

ชัชวัสส์บอกว่าครั้งที่2 นี้เป็นการต่อยอดความรู้จากครั้งแรก เป็นการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมทั้งได้ไปดูฟาร์มเพาะเลี้ยงเห็ดโคนญี่ปุ่นที่สวนเห็ดจิราวุฒิ จ.ชัยภูมิ ได้ศึกษาขึ้นตอนกระบวนการทำงานตั้งแต่แรก ทั้งการสร้างโรงเรือน เพาะพันธุ์ เก็บเกี่ยว รวมถึงการจัดการด้านการตลาด ครั้งนี้ถือเป็นการจุดประกายและตัดสินใจให้ลาออกจากงานประจำ และหันมาจับธุรกิจเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นอย่างจริงจัง

"ผมเริ่มธุรกิจนี้ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยเริ่มจากปรับปรุงพื้นที่ 6 ไร่ สร้างโรงเรือน ใช้เงินลงทุน 2 ล้านบาทจากนั้นเดือนมิถุนายน เริ่มเพาะเห็ดรุ่นแรก จำนวน 15 โรงเรือนซึ่งเป็นการทดลองปฏิบัติจริงหลังเรียนรู้ทฤษฎี ผมจึงใช้พื้นที่เพียง 1 ใน 4 เท่านั้น หากทุกอย่างลงตัว ปัญหาอุปสรรคน้อยลง จึงจะขยายพื้นที่เพิ่ม" ชัชวัสส์กล่าว

เขาให้รายละเอียดต่อว่าโดยทั่วไปเห็ดหนึ่งรุ่นต่อ 1 โรงเรือนจะให้ผลผลิต1,000 กิโลกรัมและในจำนวน 15 โรงเรือน หากเก็บเกี่ยวพร้อมกันจะได้ 1.5 หมื่นกิโลกรัม แต่การเพาะเห็ดของชัชวัสส์ไม่ทำพร้อมกัน จะเว้นระยะห่างแต่ละโรงเรือนเพื่อไม่ให้ผลผลิตล้นตลาดจนเกินไป ซึ่งสร้างรายได้ให้เขาไม่ต่ำกว่ารุ่นละ 5 หมื่นบาท ราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 บาทโดยกลุ่มตลาดเป้าหมายมี 2 กลุ่มคือ ส่งต่อให้คนกลางเพื่อนำไปจำหน่ายต่อยังตลาดที่กรุงเทพฯ สัดส่วน 80% ของผลผลิตทั้งหมด อีก 20% จะเป็นชาวบ้านในพื้นที่

สำหรับผู้สนใจการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น รวมทั้งเห็ดชนิดอื่นๆ และอยากจะประสบความสำเร็จเหมือนคุณชัชวัสส์ ในวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2551 นี้ "คม ชัด ลึก ฝึกอาชีพ" จัดอบรมเพาะเห็ดญี่ปุ่นสัญจร ที่สวนเห็ดจิรวุฒิ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ รับเพียง 40 ท่าน สนใจสำรองที่นั่งโทร.0-2338-3356-7 ค่าลงทะเบียน 3,745 บาทต่อท่าน

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 10 ตุลาคม 2551
http://www.komchadluek.net/2008/10/10/x_agi_b001_225209.php?news_id=225209

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology