͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ฟาร์มสุกรประหยัดพลังงาน มีรายได้เหลือจากขายกากของเสีย

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 51

ฟาร์มสุกรประหยัดพลังงาน มีรายได้เหลือจากขายกากของเสีย

“ฟาร์มปศุสัตว์” ในบ้านเราหลายแห่ง เริ่มปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีเลี้ยง ระบบการจัดการ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเกื้อกูลต่อสุขภาพ สัตว์ สิ่งแวดล้อม ที่นานาประเทศนำมาเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งนอกจากใช้เป็นเกณฑ์การส่งออก ยังเป็นอีกหนทางที่ช่วย “ลดต้นทุน” ให้กับผู้เลี้ยง

ฟาร์มสุกรขุน บ่อพลอยฟาร์ม ของ นายกฤษฎา คุณากรประพันธ์ ตั้งอยู่เลขที่ 121/10 หมู่ 1 ตำบลบ่อพลอย อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี เป็นอีกแห่งที่นำระบบ “บ่อก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร” มาใช้ นอกจากต้นทุนที่ลดลง วันนี้เขายังมีผลพลอยได้จากการขาย “ขี้หมูแห้ง”

นายกฤษฎา เล่าให้ฟังว่า หลังจบการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ต้องการกลับ มาอยู่บ้าน มองหาอาชีพที่ “เป็นนายตัวเอง” จึงเริ่มศึกษาหาความรู้การเลี้ยงสุกร และไปดูงานกับทางบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) ได้ตัดสินใจเข้าสู่อาชีพ “คนเลี้ยงหมูขุน” ด้วยคิดว่า “เป็นอาชีพที่มั่นคง” โดยเข้าโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรายย่อย ในรูปแบบ “Contract Farming” กับทาง ซีพีเอฟ ซึ่งผู้เลี้ยงไม่ต้องดูแลการตลาด

ใน ปี'47 สร้างโรงเรือนหลังแรกเลี้ยงสุกรจำนวน 500 ตัว แล้วมาคิดว่าควรปรับสภาพฟาร์มการเลี้ยงให้ดีขึ้น เพราะแน่ใจว่าอาชีพนี้เลี้ยงครอบครัวเราได้ ฉะนั้นจึงควรนำเอาระบบ “ไบโอแก๊ส” มาใช้ ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ยังช่วยลดต้นทุนค่าไฟ เมื่อสร้างโรงเรือนเพิ่มขึ้น 2 หลัง จึงติดต่อกับทาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ช่วยติดตั้งบ่อแก๊สขนาดกลาง (ระบบ UASB) เพราะ หากเกษตรกรสามารถควบคุมมาตรฐานระบบก่อสร้าง การใช้ไฟ และค่าน้ำเสียจากฟาร์มได้ตามเกณฑ์ ภาครัฐมีเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้าง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคาดว่าจะคุ้มทุนในปีที่ 4

“ผมมองตรงนั้นเหมือนเราสร้างแหล่งที่ช่วยลดต้นทุนภายในฟาร์ม ในช่วง ที่หมูยังเล็กค่าไฟก็จะใช้มาก แต่พอเริ่มโตของเสียมีมากปริมาณการใช้ไฟ จะลดน้อยลงตามลำดับ ที่สำคัญ กากขี้หมูแห้ง ก็ยังขายได้คิดเฉลี่ยตกปีละประมาณ 220,000 บาท ซึ่งมันคืนทุนด้วยตัวมันเอง”

ส่วน ระบบการจัดการ กฤษฎา บอกว่า ลูกหมูที่เอาเข้ามาจะมีอายุ 18 วัน แรกเข้าจะใช้ไฟอบให้ความอบอุ่น การดูแลภายในโรงเรือนเน้นเรื่องความสะอาด เมื่อเริ่มโตช่วงเช้าจะกวาดมูลทิ้งและทำทั้งวัน เปลี่ยนน้ำ ดูแลอาหาร ควบคุมอุณหภูมิด้วยระบบ “อีแว้ป” ภายในโรงเรือน เฉลี่ยที่ 28 องศา ไม่ควรอาบน้ำเพราะจะทำให้สุขภาพหมูแย่ มีอาหารให้กินทั้งวัน ทั้งหมดนี้ช่วยให้หมูเจริญเติบโตดีในช่วง 5 เดือน หลังจับหมูออกแล้วจะทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ พักเล้า 15 วัน

นายทรงศักดิ์ ฟูตระกูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายธุรกิจครบวงจรภูมิภาค บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) บอกว่า รูปแบบโครงการส่งเสริมอาชีพฯ บริษัทจะนำพันธุ์สัตว์ อาหาร ยา เทคโนโลยี เจ้าหน้าที่มาให้ ส่วนเกษตรกรทำหน้าที่ดูแลซึ่งจะมีรายได้จากส่วนที่เป็นน้ำหนักเพิ่ม ถ้าเลี้ยงได้ดีอัตราแรกเนื้อต่ำ การเจริญเติบโตดี อัตราการตายคัดทิ้งน้อยก็จะได้ราคาที่ดี

ฟาร์มสุกรขุน บ่อพลอยฟาร์มแห่งนี้ จึงกล่าวได้ว่าเป็นฟาร์มคนรุ่นใหม่ ที่อายุน้อยแต่ประสบความสำเร็จสามารถบริหารงานได้ดีและเป็นตัวอย่างกับ คนรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง ใครที่สนใจสามารถกริ๊งกร๊างไปได้ที่โทร. 08-9814-7787.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 24 กันยายน 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=105233

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology