͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

มช.วิจัยสรรพคุณพืชอาหาร พริก กาแฟ พริกไทย ลดไขมัน

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 51

มช.วิจัยสรรพคุณพืชอาหาร พริก กาแฟ พริกไทย ลดไขมัน

การใช้ “สารสกัดจากธรรมชาติ” ในรูปอาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ทาภายนอกร่างกายให้ “รูปร่างได้สัดส่วน” ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมทั้งในกลุ่มหญิง ชาย ที่ต้องการ “ลดไขมัน” ส่วนเกิน

และเพื่อให้เป็นอีกทางเลือก ภญ.รศ.ดร. อรัญญา มโนสร้อย และ ภก.ศ.ดร.จีรเดช มโนสร้อย พร้อมด้วย นศ.ภ.จามร รุ่งโรจน์นวกุล และ นศ.ภ.ศุภลักษณ์ นันตา นักศึกษาปริญญาตรีผู้ช่วยวิจัย สายวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงคิดค้นพัฒนา “ตำรับสมุนไพรเพื่อลดสัดส่วนในรูปแบบเจลใช้ทา” ขึ้น โดยได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ IRPUS ปี พ.ศ. 2550 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ภญ.รศ.ดร.อรัญญา หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า สมุนไพรที่นำมาใช้ได้แก่ พริก บริเวณส่วน “รก” ที่ มีเมล็ดติดอยู่จะมีสาร capsaicin ทำให้เผ็ด ส่งผลให้ร่างกายขับเหงื่อ กำจัดสารพิษออกอันเป็นการลดน้ำหนัก น้ำมันจาก พริกไทย ซึ่งเป็นสารประเภท monoterpenes ร้อยละ 60-80 sesquiterpenes ร้อยละ 20-40 ที่สำคัญได้แก่ limonene, caryophyllene และ pinene

นอกจากนี้ “โอลิโอเรซิน” ในพริกไทย หากนำมาสกัดด้วยตัวทำละลาย จะได้สารประเภท อัลคาลอยด์ ที่สำคัญคือ piperine piperidine และ piperanine มีสรรพคุณใช้เป็นยาขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ฯลฯ ส่วนคาเฟอีนใน กาแฟ ที่นอกจากจะช่วย กระตุ้นหัวใจ และ ระบบประสาทส่วนกลาง อย่างอ่อน ยังมีฤทธิ์ในการเพิ่ม fat oxidation และ mobilize fat

จากสรรพคุณดังกล่าว จึงน่าจะมีผลช่วยลดไขมันส่วนเกิน ทีมวิจัยจึงทำการสกัดด้วยวิธี continuous extraction, soxhlets extraction และ liquid-liquid extraction ตามลำดับ แล้วจัดทำ specification ของสารสกัดที่ได้ศึกษาความคงตัว พบว่า มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาการดูดซึมไม่สามารถสารออกฤทธิ์ผ่านไปยังเซลล์ไขมัน

ดังนั้น จึงพัฒนาตำรับเจลที่เก็บกัก ในรูปของ “อนุภาคขนาดนาโน นีโอโซม” (อนุภาคขนาดเล็กระดับนาโนเมตร) ซึ่งมีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ เช่น Tween และ Span ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารสกัดฯเข้าสู่ผิว ทำหน้าที่ช่วยออกฤทธิ์ที่เซลล์ไขมันได้ตามต้องการ อีกทั้งเป็นตัวพาสารเข้าชั้นผิวหนังได้ลึกและเพิ่มความคงตัว

จากนั้นนำมาผสมในเจลเบส จะได้เจลที่มีลักษณะสีส้มขุ่น มีกลิ่นของสมุนไพร นำมาศึกษาลักษณะความคงตัวทางเคมีและกายภาพที่อุณหภูมิ 4 ํC 25 ํC และ 45 ํC เป็นเวลา 30 วัน พบว่าตำรับเจลที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 25 ํC และ 45 ํC มีสีที่จางลงเมื่อเทียบกับตำรับที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 ํC นำเจลไปทดสอบในอาสาสมัคร

โดยใช้ทาที่บริเวณต้นแขนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในลักษณะเนื้อเจล การซึมซาบ และความหนืด ส่วนการลดไขมันส่วนเกินพบว่า อาสาสมัคร 26.67 เปอร์เซ็นต์ มีขนาดรอบต้นแขนลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญซึ่งจะต้องทำการศึกษาวิจัยเพื่อยืนยันในจำนวนอาสาสมัครที่ เพิ่มมากขึ้นและใช้เวลาที่นานกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อให้เห็นผลที่ชัดเจนขึ้น

ผลงานวิจัยนี้ น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยยกระดับสมุนไพรไทยให้ก้าวไกลไปต่างแดน ในอนาคตอันใกล้นี้ได้อย่างแน่นอน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 22 กันยายน 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=104991

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology