͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

กรมวิชาการเกษตรคุมนำเข้าเข้มสารเคมี เผยทุกขั้นตอนสุดหินไม่ผ่านเพียบ

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 51

กรมวิชาการเกษตรคุมนำเข้าเข้มสารเคมี เผยทุกขั้นตอนสุดหินไม่ผ่านเพียบ ปัญหาเรื่องสารเคมีที่นำมาใช้ในงานด้านการเกษตรของประเทศไทยมีการกล่าวถึงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นผลต่อพื้นที่การเพาะปลูก ต่อสภาพของดินที่ใช้เพาะปลูกและต่อผู้บริโภคและผู้ทำการผลิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนหลายพื้นที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ล่าสุดนางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสำคัญในการนำเข้าสารเคมีเกษตรจากต่างประเทศ โดยจะต้องมีการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรก่อน ซึ่งการขึ้นทะเบียนนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบต่าง ๆ หลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาและทดสอบจนแน่ใจว่าสารเคมีเกษตรที่จะอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรนั้นจะไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ สัตว์ และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกที่สำคัญประเทศหนึ่งของโลกและยังเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้นซึ่งมีการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีเกษตรเพื่อป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึงได้ดำเนินการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมและกำกับดูแลการนำเข้าและการผลิตสารเคมี ตลอดจนการควบคุมฉลากเพื่อให้มีการใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายทั้งต่อเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

สำหรับสารเกษตรแต่ละชนิดที่จะผ่านขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนได้นั้น ผู้ประกอบการจะต้องทำการวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพของวัตถุอันตรายจำนวน 2 สถานที่หรือ 2 ฤดูกาล และสารเคมีต้องผ่านการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ รวมทั้งการประเมินข้อมูลทางด้านพิษวิทยาทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง ซึ่งต้องมีความปลอดภัยทั้งต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ที่ผ่านมามีผู้ยื่นข้อมูลพิษวิทยาให้ประเมินจำนวน 721 คำขอ ซึ่งคณะทำงานประเมินข้อมูลพิษวิทยาได้ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปีประเมินข้อมูลทางด้านพิษวิทยาและพิษตกค้างผลปรากฏว่า มีสารเคมีที่ผ่านการประเมินทางพิษวิทยาเพียง 102 คำขอ โดยในส่วนของคำขอที่ไม่ผ่านการประเมินนั้นเนื่องจากขาดข้อมูลการศึกษาด้านการทดสอบความปลอดภัย

นอกจากนี้เมื่อผ่านขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายแล้ว หากผู้ประกอบการมีความประสงค์จะนำเข้าหรือผลิตสารเคมีจะต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตรอีกขั้นตอนหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยก่อนที่จะอนุญาตให้มีการผลิตได้นั้นจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของโรงงานด้วยว่า เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 18 กันยายน 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=177070&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology