͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ไทย-จีนพันธมิตรส่งออกกล้วยไม้ เกษตรผลักดันสร้างจุดแข็งสู่ความศูนย์กลางตลาดโลก

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 51

ไทย-จีนพันธมิตรส่งออกกล้วยไม้ เกษตรผลักดันสร้างจุดแข็งสู่ความศูนย์กลางตลาดโลก นายธรรมรัต หวั่งหลี ที่ปรึกษารักษาการ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า กระทรวงเกษตรฯได้ผลักดันการส่งออกกล้วยไม้ไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามระบบการผลิตที่ดี (GAP) การพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และรูปแบบกล้วยไม้ให้ตรงกับรสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน เช่น ฮอลแลนด์ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ปัจจุบันถือเป็นอีกหนึ่งตลาดสำคัญที่กล้วยไม้ไทยจะสามารถขยายการส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่อยู่ในตลาดระดับบน

ทั้งนี้จากการที่ได้เดินทางไปศึกษาดูงานนิคมการเกษตรกล้วยไม้ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งตัวแทนบริษัทผู้ผลิตกล้วยไม้ ก็ได้แสดงความสนใจที่จะร่วมมือกับผู้ส่งออกและผู้ประกอบการไทยเปิดตลาดกล้วยไม้ร่วมกัน ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ซึ่งก็น่าจะเป็นข้อได้เปรียบสำหรับประเทศไทยที่จะเป็นฐานการผลิต และส่งออกกล้วยไม้ที่สำคัญในการเป็นศูนย์กลางกระจายการส่งออกกล้วยไม้ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จากปัจจุบันประเทศไทยก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกล้วยไม้รายใหญ่ โดยมีตลาดหลักที่สำคัญๆ เช่น สหภาพยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม จากศักยภาพและจุดแข็งของกล้วยไม้ไทย ทั้งในด้านสายพันธุ์ที่มีความหลากหลาย ความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ของกล้วยไม้เขตร้อน และการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ก็มีความเป็นไปได้มากที่กล้วยไม้ไทยจะเกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดจีนที่มีโอกาสขยายตัว 10 - 12 %

ด้าน นายโอฬาร พิทักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ตลาดจีนถือเป็นอึกหนึ่งตลาดที่สำคัญและมีศักยภาพรองรับการเจริญเติบโตของตลาดกล้วยไม้ไทย จากข้อมูลปริมาณการส่งออกมายังประเทศจีนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนรู้จักกล้วยไม้ไทยมากขึ้นและนำไปใช้ประดับในเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะงานกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่ผ่านมา เช่น แวนด้า กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) และการที่บริษัทผู้ผลิตกล้วยไม้ของจีนได้แสดงความสนใจที่ร่วมกับไทยในการขยายตลาดกล้วยไม้เพิ่มมากขึ้น จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่น่าจะเป็นไปได้ เพื่อทำให้เกิดเป็นพันธมิตรที่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดไม้ดอกของโลกที่ปัจจุบันมีอยู่ 5 แสนล้าน/ปี โดยกล้วยไม้ไทยมีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 3-5 หมื่นล้านบาท/ปี ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะประสานกับผู้ผลิตและผู้ประกอบการส่งออกกล้วยไม้ไทยที่จะร่วมกับพิจารณาแนวทางดังกล่าวต่อไป

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 17 กันยายน 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=123561

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology