͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

หมอจี้ชาวนาใส่รองเท้าบู๊ตลุยน้ำ ป้องกันโรค "เมลิออยโดสิส" ถึงตายเฉียบพลัน

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 51

หมอจี้ชาวนาใส่รองเท้าบู๊ตลุยน้ำ ป้องกันโรค "เมลิออยโดสิส" ถึงตายเฉียบพลัน พ.ต.น.พ.ชล กาญจนบัตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมุกดาหาร เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลมุกดาหารมีผู้ป่วยมารักษาจำนวนมาก โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อโรคเมลิออยโดสิส และมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยสถิติผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสในเดือนกันยายน 2549 - กันยายน 2550 พบผู้ป่วยทั้งหมด 77 คน เสียชีวิต 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.87 ของผู้ป่วย ซึ่งถือว่ามาก โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะประกอบอาชีพชาวนา และมีโรคเบาหวาน โรตไตร่วมด้วย ซึ่งอาการของโรคเมลิออยโดสิส จะมีลักษณะคล้ายโรคติดเชื้ออื่นๆ หลายโรค ทำให้ยากต่อการวินิจฉัยโรค ส่งผลให้วินิจฉัยโรคผิดได้ โดยอาการสำคัญของโรคเมลิออยโดสิส คือ มีอาการปอดบวม ติดเชื้อในกระแสโลหิต และเป็นฝีในอวัยวะภายใน ฉะนั้น ควรได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้ผลการวินิจฉัยโรคออกมาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว และจะมีผลต่อเนื่องไปถึงการรักษาโรครวมถึงการรอดชีวิตของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดเฉียบพลันมักเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว และอาจพบมีอาการของโรคกลับซ้ำได้บ่อยในกรณีที่ให้ยาปฏิชีวนะไม่นานพอ ซึ่งจะมีผลต่อการรักษา เพราะการรักษาโรคเมลิออยโดสิสมีรูปแบบจำเพาะ ไม่เหมือนโรคติดเชื้ออื่นๆ และยาที่รักษามีราคาค่อนข้างแพง จึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีตรวจกรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

พ.ต.น.พ.ชล กล่าวอีกว่า สำหรับการป้องกันโรคเมลิออยโดสิส ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเมลิออยโดสิส อีกทั้งการควบคุมป้องกันโรคก็ทำได้ยาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ต้องสัมผัสกับดินและน้ำ ขอแนะนำให้เกษตรกรที่ต้องทำงานลุยน้ำลุยโคลน ควรสวมรองเท้าบู๊ต เพื่อป้องกันเบื้องต้น ส่วนการติดต่อที่พบบ่อย ได้แก่ การหายใจและการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อที่ปนเปื้อนในดินและน้ำ แต่เนื่องจากโรคเมลิออยโดสิสเป็นโรคที่ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้น้อย เป็นเหตุให้ประชาชนไม่ป้องกันตนเองทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น ขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลสุขภาพของตนเอง หากสงสัยหรือมีอาการเจ็บป่วยขอให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 12 กันยายน 2551
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROd2NtOHdNVEV5TURrMU1RPT0=§ionid=TURNeE13PT0=&day=TWpBd09DMHdPUzB4TWc9PQ==

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology