͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ตะขบยักษ์ไร้หนาม บังคับให้ออกดอกติดผลง่าย

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 51

ตะขบยักษ์ไร้หนาม บังคับให้ออกดอกติดผลง่าย เมื่อนำต้นตะขบยักษ์ไร้หนามมาปลูกในแปลงเช่นเดียวกับไม้ผลเศรษฐกิจชนิดอื่น โดยทำการยกร่องแปลงแบบลูกฟูกใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 5 เมตร, ระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกต้นตะขบยักษ์ไร้หนามได้ประมาณ 50 ต้น มีการติดตั้งระบบการให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ต้นละ 1 หัว ผลปรากฏว่าต้นตะขบยักษ์มีการเจริญเติบโตเร็วมาก เมื่อต้นอายุครบ 1 ปี มีความสูงของต้นเฉลี่ย 1.50 เมตร และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 2 เมตร ที่น่าสนใจไปกว่านั้นต้นตะขบยักษ์จัดเป็นไม้ผลแปลกและหายากที่ออกดอกและติดผลง่ายมากโดยใช้วิธีการควั่นกิ่ง

นอกจากวิธีการขยายพันธุ์ต้นตะขบยักษ์ด้วยวิธีการต่อยอดแล้ว พบว่าการตอนกิ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ปฏิบัติได้ง่ายและเมื่อนำไปปลูกต้นจากกิ่งตอนจะเจริญเติบโตเร็วมากและมีทรงพุ่มที่สวย หลังจากที่ได้ทำการตอนกิ่งนานประมาณ 1 เดือน (รากยังไม่ออก) พบว่ากิ่งที่ตอนนั้นมีการออกดอกและติดผลตามมา จึงได้มีการประยุกต์นำวิธีการควั่นกิ่งแบบเดียวกับที่ควั่นกิ่งลิ้นจี่มาใช้ควั่นต้นตะขบยักษ์ เริ่มต้นจากวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการควั่นคือ มีดปลายแหลม, ลวด และคีมมัดลวด ต้นตะขบยักษ์ที่ทดลอง ควั่นกิ่งควรจะมีอายุต้นตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ต้นตะขบยักษ์ที่มีอายุ 4 เดือน จะมีกิ่งรองแตกออกมาแล้ว 2-3 กิ่ง จะคัดเลือกกิ่งที่ตั้งตรงหรือแนวนอนก็ได้ แต่ช่วงที่ทำการควั่นกิ่งลักษณะของใบในขณะนั้นจะต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไป เป็นระยะใบพวงหรือใบเพสลาดเหมือนใบมะม่วง ขนาดความยาวของกิ่งที่จะใช้ควั่นมีความยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตรและมีเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งประมาณ 1-2 เซนติเมตร

ใช้มีดปลายแหลมควั่นกิ่งที่คัดเลือกไว้เป็น 2 รอย ให้รอยควั่นห่างกันประมาณ 0.25 เซนติเมตร หลังจากนั้นให้ใช้มีดกรีดส่วนของเปลือกแล้วลอกออกมา แต่ไม่จำเป็นจะต้องขูดเนื้อเจริญออกมาด้วย ใช้ลวดขนาดเล็กหรือขนาดกลางมัดตามรอยควั่นและใช้คีมมัดลวดให้แน่นพอสมควร (ไม่ควรมัดลวดให้แน่นจนเกินไป อาจจะทำให้กิ่งที่ควั่นตายได้) หลังจากที่ควั่นและมัดลวดไปนานประมาณ 1 เดือน จะสังเกตเห็นใบของต้นตะขบยักษ์ของกิ่งที่ทำการควั่นจะมีสีเหลืองซีดเหมือนอาการขาดน้ำ ไม่ต้องตกใจ ปล่อยทิ้งไว้อีก 20 วันโดยประมาณ จะสังเกตเห็นดอกเริ่มปลิออกมาเมื่อเห็นดอกแทงออกมาแล้วให้แกะลวดที่มัดออก เริ่มให้น้ำต้นตะขบทันทีต่อมาจะพบว่ากิ่งที่ได้ทำการควั่นนั้นมีผลตะขบยักษ์ติดเป็นจำนวนมาก ให้ปลิดผลทิ้งบ้าง

ผลอ่อนของตะขบยักษ์ไร้หนามจะมีสีเขียวและเมื่อผลแก่จัดพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวมาบริโภคจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มและมีขนาดผลใหญ่ใกล้เคียงกับผลมะนาว ลักษณะของเนื้อภายในจะมีสีเหลืองทองและมีเมล็ดอยู่ในภายในผลเฉลี่ย 3-5 เมล็ด รสชาติหวานเนื้อนิ่มอร่อยมาก ส่วนของเปลือกจะมีความฝาดเล็กน้อย เนื่องจากมีปริมาณของสารแทนนิน ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารจัดเป็นผลไม้สุขภาพอีกชนิดหนึ่ง.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 9 กันยายน 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=176143&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology