͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ตัดแต่งกิ่งลำไย

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 51

ตัดแต่งกิ่งลำไย อีกไม่นานชาวสวนลำไยหลายสวนก็คงเก็บเกี่ยวลำไยหมดต้นแล้ว และก็ถึงช่วงเวลาตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยเพื่อเตรียมต้นสำหรับการออกดอกในปีต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่จะทำให้ได้ลำไยที่มีคุณภาพ

ตามที่ตลาดต้องการ หมายความว่า ผลโต รสชาติดี

คราวที่แล้วได้ให้รายละเอียดไปว่าการตัดแต่งผลลำไยในช่อให้เหลือผลจำนวนน้อยลง ในกรณีที่มีการติดผลมากเกินไป ก็เพื่อทำให้ผลมีขนาดโต เนื่องจากไม่ต้องแย่งอาหารกันเองในช่อเดียวกัน ดังนั้น เรื่องอาหารในต้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ได้ลำไยคุณภาพหรือไม่ การตัดแต่งกิ่งก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือตัดส่วนที่ไม่ต้องการหรือเป็นส่วนเกินออก เพื่อลดการใช้อาหารในต้น จึงทำให้มีเหลือพอที่จะไปเลี้ยงส่วนที่เหลือให้อุดมสมบูรณ์ หลักการง่ายๆ ก็คือ ใบลำไยมีหน้าที่สร้างอาหารไปเลี้ยงทั้งต้น แต่ถ้าทรงพุ่มแน่นทึบเกินไป ก็จะมีส่วนของใบที่ไม่ถูกแสง ดังนั้นใบและกิ่งเหล่านี้จึงมีหน้าที่กินอาหารอย่างเดียวโดยไม่ได้ช่วยกันสร้าง ผลก็คือใบที่เหลือต้องสร้างอาหารแล้วเอามาแบ่งให้กับกิ่งใบที่อยู่ในร่มแทนที่จะเก็บไว้ออกดอกและสร้างผล จากตรงนี้เองจึงได้มีการตัดแต่งกิ่งในส่วนที่ไม่ค่อยได้รับแสงออกไป จึงเป็นที่มาของการตัดแต่งกิ่งแบบเปิดกลางพุ่ม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ทรงเปิดกะโหลก ซึ่งเป็นทรงยอดนิยมแบบหนึ่งและทำกันในหลายพื้นที่ โดยจะตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออก 2-5 กิ่งใหญ่ เพื่อลดความสูงของต้นและให้แสงแดดส่องถึงต จากนั้นก็ตัดกิ่งที่อยู่ด้านในทรงพุ่มที่ไม่ถูกแสงออกไปบ้าง โดยสรุปก็คือตัดให้ใบส่วนใหญ่ถูกแสงมากที่สุด

นอกจากนี้ก็ยังมีการตัดแต่งกิ่งหนักอีกแบบหนึ่งเป็นทรง ที่เรียกว่า ทรงฝาชีหงาย ซึ่งก็คล้ายกับแบบเปิดกลางพุ่ม แต่แบบนี้ตัดหนักกว่า คือเอากิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออกหมดเลย ให้เหลือแต่กิ่งในแนวนอนเท่านั้น เพราะการออกดอกของลำไยออกที่ปลายกิ่ง เมื่อมีการตัดกิ่งในแนวตั้งออกไปแล้ว ก็จะมีการแตกกิ่งใหม่ขึ้นมาจากกิ่งที่เหลืออยู่เป็นจำนวนมาก และก็สามารถออกดอกได้เมื่อมีการใช้สารบังคับให้ออกดอก

ความจริงยังมีการตัดแต่งในรูปแบบอื่นอีก เช่น ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลยคล้ายๆ กับแนวรั้วพู่ระหง ซึ่งวิธีนี้เป็นการควบคุมทรงพุ่มให้เตี้ยและมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการปลูกระบบชิด ทำให้เก็บเกี่ยวได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองแรงงาน ยิ่งกว่านั้นก็คือเมื่อมีการใช้สารเคมีการเกษตรไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลงหรืออื่นๆ ก็จะสิ้นเปลืองน้อยลง และอันตรายก็น้อยลงเพราะไม่ค่อยมีการสูญเสียและฟุ้งกระจาย

ไม่ว่าจะตัดแต่งกิ่งแบบไหน อย่างแรกเลยที่ชาวสวนต้องเข้าใจคือ ต้องรู้ว่าตัดแต่งไปทำไม และต้องเข้าใจธรรมชาติของต้นไม้ว่าเมื่อตัดแล้วไม่ต้องกลัวว่าต้นไม้จะตาย เพราะจะมีการแตกใบอ่อนออกมาทดแทนของเดิม แต่หากตัดมากไปก็จะได้ดูแต่ใบเพราะต้นไม้ต้องสร้างขึ้นมาชดเชยส่วนที่หายไป ถ้าตัดน้อยไปก็ไม่ได้ประโยชน์ ยังมีการแย่งอาหารกันอยู่

ที่สำคัญคือ ต้องใจกล้าพอที่จะตัดแต่งกิ่งต้นไม้ หากใครยังใจไม่กล้าพอ ก็อาจต้องลองจากต้นสองต้นก่อนที่จะลองทำทั้งสวนครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 8 กันยายน 2551
http://www.komchadluek.net/2008/09/08/x_agi_b001_219618.php?news_id=219618

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology