͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เกษตรฟุ้งส่งออกญี่ปุ่นพุ่งปรี๊ด ปี'50 ยอดทะลุ 4.6 หมื่นล้าน ส่งทีมต่อยอดบุกขยายตลาด

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 51

เกษตรฟุ้งส่งออกญี่ปุ่นพุ่งปรี๊ด ปี'50 ยอดทะลุ 4.6 หมื่นล้าน ส่งทีมต่อยอดบุกขยายตลาด นายธีระชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า การจัดทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ส่งผลให้ไทยได้ประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะความร่วมมือด้านความปลอดภัยด้านอาหารและความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ ทำให้ภาคเกษตรของไทยสามารถยกระดับมาตรฐานสุขอนามัย นำไปสู่การผลักดันสินค้าเกษตรของไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น

ทั้งนี้สำหรับความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหารนั้น ประกอบด้วย 1.ความร่วมมือการจดทะเบียนผู้ส่งออกตามโครงการควบคุมสารตกค้างระดับฟาร์มกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จมาก 2.การควบคุมคุณภาพผักและผลไม้ โดยกรมวิชาการเกษตรทำข้อตกลงการควบคุมคุณภาพผักและผลไม้ส่งออก 23 ชนิดไปยังญี่ปุ่น ส่งผลให้สินค้าเกษตรของไทยลดปัญหาเรื่องสารพิษตกค้างจนส่งออกไปญี่ปุ่นได้มากขึ้น

ส่วนความร่วมมือด้านสหกรณ์นั้นมีโครงการตามมาหลายอย่าง โดยญี่ปุ่นได้สนับสนุนทั้งกำลังเจ้าหน้าที่ และเงินทุนในการพัฒนายกระดับภาคสหกรณ์ของไทยให้เข้มแข็งขึ้น และยังมีข้อตกลงซื้อขายสินค้าหลายรายการระหว่างสหกรณ์ของไทยและญี่ปุ่นอีกด้วย

โดยความร่วมมือที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 ประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยการค้าไทย-ญี่ปุ่นในปี 2550 มีมูลค่า 46,518.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่มีมูลค่าการส่งออกเพียง 18,118.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 28,400.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่มีการส่งออกไปญี่ปุ่น ได้แก่ ยางพารา ไก่แปรรูป เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง มันสำปะหลัง กุ้งสดแช่เย็น ข้าว ผักสด เป็นต้น

นายธีระชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่น รวมถึงเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรของไทยในตลาดญี่ปุ่นให้มากขึ้น คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ จึงได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อศึกษาดูงานภาคเกษตร เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ประกอบด้วย การศึกษาดูงานฟาร์มโคนม โคเนื้อ สหกรณ์ผู้ผลิต WAGOEN เพื่อดูระบบบัญชีสหกรณ์ พร้อมกันนี้ได้เดินทางไปเยี่ยมชมตลาด OTA ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร และเยี่ยมยุวเกษตรกรที่ไปฝึกงานอยู่ที่ญี่ปุ่นด้วย ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้มุ่งหวังว่า จะได้นำข้อดีของระบบสหกรณ์และการผลิตสินค้าเกษตรของญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรไทย รวมทั้งขยายช่องทางการค้าขายระหว่างกันต่อไปต่อไป

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 4 กันยายน 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=121510

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology