͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ทุนวิจัยขยะพระราชทาน มก.นำมาผลิตกระแสไฟฟ้า

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 51

ทุนวิจัยขยะพระราชทาน มก.นำมาผลิตกระแสไฟฟ้า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “กองทุนบำบัดและใช้ ประโยชน์จากขยะ” ในมูลนิธิชัยพัฒนาไว้ จำนวน 1 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัย “การผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซขยะตามแนวพระราชดำริ Landfill Gas to Energy (Royal Speech Project)”

ผศ.บุญมา ป้านประดิษฐ์ อาจารย์จากศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้เล่าให้ ฟังว่า ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวทางการดำเนินงาน

โดย ส่วนแรก ให้ใช้แก๊สจากขยะให้หมดก่อน ต่อจากนั้นให้นำขยะไปร่อนแยกส่วนประกอบ ส่วนที่เหลือที่ยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ให้นำไปเผาเพื่อนำเอาพลังงานความร้อนไปใช้ประโยชน์ ส่วนเถ้าถ่าน ให้นำไปผสมกับวัสดุที่เหมาะสมอัดเป็นแท่ง อาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างต่อไปได้

ส่วนที่สอง ขณะทำการร่อนแยกขยะในพื้นที่ส่วนแรก ก็ใช้ประโยชน์จากแก๊สควบคู่กันไปก่อน เมื่อแก๊สหมดจึงดำเนินการลักษณะเดียวกันกับที่ได้ดำเนินการในพื้นที่ส่วนแรก หากทำได้อย่างต่อเนื่องจัดเวลาให้เหมาะสม จะทำให้มีพื้นที่ฝังกลบหมุนเวียนตลอดไป

ต่อมาปี พ.ศ. 2531-2535 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ร่วมกับบริษัทกลุ่ม 79 จำกัด ได้รับสัญญาว่าจ้างจาก กรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการ กำจัดขยะฝังกลบอย่างถูกวิธี (Sanitary Landfill) บนพื้นที่ 170 ไร่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

“การดำเนินงานมีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปรับปรุงสภาพภูมิประเทศให้สวยงามไม่เป็นที่รังเกียจของชุมชน ด้วยการขุดหลุมดิ่งจำนวน 40 หลุม เสร็จแล้วทำการ ดูดน้ำให้แห้งเพื่อที่ดึงแก๊สจากบ่อ ซึ่งได้เพียง 180 คิวเท่านั้นจากที่ตั้งเป้าไว้ 500 คิว เลยเปลี่ยนวิธีเป็น ขุดหลุมนอน”

แล้วนำก๊าซที่ได้มาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยทีมงานฯทำการเก็บข้อมูลปริมาณคุณภาพก๊าซจากหลุมขยะ ตลอดจนชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดก๊าซ เพื่อกำจัดสาร ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SILOXANES) และความชื้นในก๊าซเพื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ที่จะป้อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้เครื่องยนต์เทคนิคในการดูแลบำรุงรักษาระบบ ผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

ทีมงานฯจึงเกิดความมั่นใจว่า ก๊าซจากขยะตามโครงการตามแนวพระราชดำริ สามารถใช้ประโยชน์ เป็น พลังงานทดแทนใช้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างเด่นชัดและเป็นรูปธรรม

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 25 สิงหาคม 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=101801

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology