͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

แมคคาเดเมียที่ดอยตุง

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 51

แมคคาเดเมียที่ดอยตุง วันก่อนมีโอกาสเดินทางไปทัศนศึกษาโครงการพัฒนาดอยตุง กับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ในโครงการสื่อมวลชนสัญจรโครงกา“พอเพียงสู่ประโยชน์สุข” รับฟังหม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และประธานโครงการพัฒนาดอยตุง เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของโครงการว่าโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงราย เป็นโครงการที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ทรงเริ่มมาตั้งแต่ปี 2531
 
เป็นโครงการพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขความยากจนที่ต้นเหตุของปัญหาประเด็นแนวคิดและวิธีการแก้จนตามตำราหลวง หรือเรียนรู้จากในหลวงของประชาชน ซึ่งสมเด็จย่าทรงเรียนรู้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโครงการห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการส่วนพระองค์ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทั้งนี้การแก้ไขความจนต้องเริ่มจากการพัฒนาคือการให้โอกาสคนและพัฒนาคน การดำเนินงานต้องเข้าใจเข้าถึงการพัฒนา โดยจุดหมายปลายทางคือทำอย่างไรให้คนช่วยตัวเองให้ได้ นั่นคือเศรษฐกิจพอเพียง
 
และหนึ่งในการดำเนินงานจากหลาย ๆ โครงการคือการทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้มีการทำป่าเศรษฐกิจ คือแมคคาเดเมีย ซึ่งใช้เวลาถึง 9 ปีจึงได้ผล แมคคาเดเมีย นัท ต้นไม้เศรษฐกิจในโครงการพัฒนาดอยตุงมีเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพทางเลือกที่ยั่งยืนให้กับชาวไทยภูเขา ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยดำรงชีวิตด้วยการปลูกฝิ่นบนดอยตุง ดอยสูงที่เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำอันลือเลื่องไปทั่วโลก นับตั้งแต่เริ่มปลูกด้วยการดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้นแมคคาเดเมียเหล่านี้จึงได้สร้างผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ สร้างเศรษฐกิจ และรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชาวไทยภูเขาในโครงการฯ อย่างต่อเนื่องตลอดมาจวบจนทุกวันนี้ แมคคาเดเมีย นัท เป็นพืชที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการจากสารอาหารหลากหลายชนิด รวมถึงกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
 
แมคคาเดเมียเป็นผล nut ที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจและมีความต้องการทางตลาดสูง เนื่องจากมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยมีกรดโอเลอิก ซึ่งเป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fatty acidC18:1) และมีความสามารถในการช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด นอกจากนี้ยังมีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต และเป็นแหล่งของวิตามินบี มีการผลิตมากตามแถบชายฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลียและรัฐฮาวายในสหรัฐอเมริกา
 
สำหรับประเทศไทยนั้น วันนี้ได้มีการขยายผลเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงใหม่  จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันการเพาะปลูกประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถให้ผลผลิตที่นำมาแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคได้ แม้ในบางพื้นที่ปลูกยังประสบกับปัญหาเรื่องของการกะเทาะเปลือกเพื่อนำผลมาแปรรูปอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็มีการศึกษาวิจัยเพื่อหาค่าที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการเพาะปลูกเพื่อให้ลดและหมดไปของปัญหาดังกล่าว เนื่องจากการกะเทาะเปลือกของแมคคาเดเมียดีหรือไม่ดีนั้นจะเป็นผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ได้รับ ซึ่งรับทราบมาว่ามีแนวโน้มที่ดีต่อคำตอบอยู่ไม่น้อย

และนอกเหนือสิ่งอื่นใดที่ไม่บังควรลืมก็คือการมีและเกิดขึ้นของแมคคาเดเมียในประเทศไทยนั้นก็คือการเกิดขึ้นและการดำเนินโครงการที่ประสบความสำเร็จของโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงราย ที่มีเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎรในพื้นที่อย่างยั่งยืนนั่นเอง

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 21 สิงหาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=174105&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology