͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ทอผ้าจากไหมอีรี่

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 51

ทอผ้าจากไหมอีรี่ เรื่องการเลี้ยงไหมอีรี่ในเมืองไทยนั้น ยังไม่แพร่หลายถึงขนาดเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ได้ ซึ่งที่จริงไหมอีรี่มีศักยภาพสูงมากที่จะนำมาเลี้ยงและทอเป็นผ้าออกมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับงานหัตถกรรมขนาดเล็ก เพราะว่ามีข้อเด่นหลายอย่างที่น่าสนใจ

ดังนั้นจึงได้มีการวิจัยเกี่ยวกับไหมอีรี่หลายเรื่องในเมืองไทย เพื่อพยายามผลักดันให้เป็นอาชีพทางเลือกอีกอย่างหนึ่งของคนไทย งานวิจัยส่วนใหญ่ที่ผ่านมาเป็นเรื่องของการพัฒนาเทคนิคการเลี้ยง ซึ่งขณะนี้ประสบความสำเร็จสูงในระดับหนึ่ง ได้ข้อมูลว่าการเลี้ยงไหมอีรี่ด้วยใบมันสำปะหลัง สามารถทำได้ผลดีมาก อย่างในพื้นที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลังมาก เช่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็สามารถนำไหมอีรี่ไปเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี

ประกอบกับในเขตนี้มีความชำนาญในเรื่องหัตถกรรมพื้นบ้านที่เกี่ยวกับผ้า ไม่ว่าจะเป็นการทอ การย้อม และการทำเป็นผลิตภัณฑ์ปลีกย่อยต่างๆ มากอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสที่น่าจะเรียกได้ว่าดีมาก ในการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไหมอีรี่ในเขตนี้มากขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นเพื่องานหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยยังไม่ต้องมองเป้าหมายอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

จุดเด่นของไหมอีรี่ก็คือการที่ตัวหนอนไหมกินใบมันสำปะหลังและใบละหุ่งเป็นอาหาร แต่ว่าเมืองไทยหาใบละหุ่งได้ยากมาก แต่ว่ามีการส่งเสริมการปลูกมันกันมาก ดังนั้นแหล่งอาหารของไหมอีรี่จึงไม่น่าจะขาดแคลน และเคยมีการศึกษาไว้เบื้องต้นว่า ถึงแม้จะเด็ดใบมันสำปะหลังออกมา 30% เพื่อใช้เลี้ยงไหม ก็ไม่ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงเรียกได้ว่าปลูกมันก็มีผลพลอยได้คือใบที่ใช้เลี้ยงไหมอีรี่ได้อีก

นอกจากนี้จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งก็คือการทำด้ายจากเส้นไหมใช้วิธีการปั่นเส้นใยแบบเดียวกับฝ้าย ไม่ได้ใช้วิธีสาวเหมือนไหมหม่อน นั่น คือไม่ต้องจับตัวดักแด้มาต้ม แต่สามารถรอให้ดักแด้ฟักเป็นตัวผีเสื้อแล้วรวบรวมเปลือกรังไหมไว้ให้ได้มากพอแล้วนำมาปั่นทีเดียวแบบฝ้ายก็ได้

อย่างไรก็ตามไหมอีรี่เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ของเมืองไทย ดังนั้นจึงยังต้องการองค์ความรู้อีกหลายด้าน เพื่อจะได้นำมาใช้ในการพัฒนาขึ้นมาให้เป็นอาชีพได้ ความรู้หลายเรื่องก็สามารถนำมาจากประเทศที่เคยเลี้ยงได้ผลดีแล้วอย่างเช่น อินเดีย แต่ว่าบางอย่างเราจำเป็นต้องพัฒนาเองเพื่อให้เกิดเอกลักษณ์ และได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใคร

ทุกวันนี้เรื่องการทอผ้าจากไหมอีรี่ ก็มีงานวิจัยที่ทำขึ้นโดย ดร. รังสิมา ชลคุป จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และทีมงานอีก 2 ท่านได้ช่วยกันวิจัยการผลิตเส้นด้ายและผ้าจากไหมอีรี่ โดยเอาไปผสมกับฝ้าย เพื่อให้ได้ผ้าที่มีเนื้อสัมผัสแตกต่างออกไปจากผ้าฝ้ายหรือไหมธรรมดา โดยมีการพลิกแพลงหลายรูปแบบ เช่นใช้เส้นยืนเป็นฝ้ายและใช้เส้นพุ่งเป็นด้ายปั่นผสมระหว่างฝ้ายและไหมอีรี่ในปริมาณต่างๆ กัน

ผลที่ได้ก็พอสรุปได้ว่าการผสมไหมอีรี่เข้าไปยิ่งมากเท่าไรก็ยิ่งทำให้คุณสมบัติของผ้าดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการยืดตัว ความทนทานต้านแรงฉีกขาด เรียกได้ว่าไหมอีรี่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับด้ายผสม แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือความสวยงามของผ้าจากไหมอีรี่นั้นดีกว่าจากผ้าฝ้ายธรรมดาครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 18 สิงหาคม 2551
http://www.komchadluek.net/2008/08/18/x_agi_b001_216403.php?news_id=216403

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology