͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ประมงงัดระบบ "ไบโอซีเคียวริตี้" เพาะพันธุ์ "กุ้งก้ามกราม" ปลอดโรค

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 51

ประมงงัดระบบ "ไบโอซีเคียวริตี้" เพาะพันธุ์ "กุ้งก้ามกราม" ปลอดโรค ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากกรณีที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) และ extra small virus (XSV) ในกุ้งก้ามกราม ส่งผลให้ลูกกุ้งก้ามกรามทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนที่อนุบาลไว้มีอัตราการรอดตายต่ำมาก

กรมประมง จึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจัดทำโครงการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรคขึ้น ด้วยการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพื่อเพาะเลี้ยงให้ถูกต้องตามหลักพันธุศาสตร์ และปลอดจากโรคไวรัสทั้ง 2 ชนิด ภายใต้กระบวนการจัดระบบเพาะเลี้ยงที่เรียกว่าระบบ "ไบโอซีเคียวริตี้" ซึ่งแบ่งเป็น 2 กิจกรรม คือ 1.การผลิตกุ้งก้ามกรามให้ปลอดจากโรค Macrobrachium rosenbergii Noda Virus (MrNV) และ Extra Small Virus (XSV) และ 2.การติดตามและกักกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสดังกล่าวกลับมาระบาดได้อีก ซึ่งขณะนี้กรมฯ ก็ได้ดำเนินการพัฒนาการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบไบโอซีเคียวริตี้ และจะถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งในระบบดังกล่าวสู่ภาคเอกชน และผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค (SPF) ไวรัส Macrobrachium rosenbergii nodavirus (MrNV) และ Extra small virus (XSV) เพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกร รวมทั้งทำการวิจัยด้านพันธุกรรมเพื่อผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรคไวรัสทั้ง 2 ชนิดที่มีอัตราการเจริญเติบโตดีและรอดตายสูงอย่างน้อย 2 รุ่น ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติงาน ทำให้เกษตรกรได้มีลูกกุ้งที่ปลอดจากโรคไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้ ใช้ในการเพาะเลี้ยง และสามารถสร้างมูลค่าจากการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นรายได้ให้แก่ครอบครัวต่อไป

อนึ่งขณะนี้กรมฯได้มอบหมายให้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบไบโอซีเคียวริตี้ โดยมีเป้าหมายในการผลิตลูกกุ้งก้ามกรามปลอดโรค เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกร จำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านตัว ราคาตัวละ 15 สตางค์ โดยขณะนี้ได้จำหน่ายไปแล้วทั้งสิ้น 1,197,100 ตัว สำหรับผู้สนใจที่จะซื้อลูกกุ้งก้ามกรามดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์ 035- 613 025 ในวันและเวลาราชการ

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 18 สิงหาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=118681

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology