͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

'ลุงคำ' กับคำตอบสุดท้ายคือ ปลูกยางพารา

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 51

'ลุงคำ' กับคำตอบสุดท้ายคือ ปลูกยางพารา

ลุงคำ หัวนา อายุ 55 ปี หนึ่งในเกษตรกรหัวไวใจสู้ ต.หัวนา อ.ภูซาง จ.พะเยา ย้อนอดีตเล่าให้ฟังว่า ที่ผ่านมาปรับเปลี่ยนอาชีพมาแล้วหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็นอาชีพทำนา ปลูกสับปะรด ปลูกมะขามหวาน ปลูกลำไย หรือไปทำประมง แต่ท้ายสุดก็ล้มเหลวเหมือนกันจนทำให้ลุงและครอบครัวมีหนี้สินจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงที่หันไปทำสวนลำไยซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงและลงทุนตลอด แต่กลับให้ผลผลิตปีเว้นปี แถมราคาลำไยก็ไม่แน่นอนอีก
 
ในช่วงที่กำลังค้นหาพืชปลูกใหม่อยู่นั้น เป็นช่วงเดียวกับที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมปลูกยางพาราในภาคอีสาน หรืออีสานเขียวขึ้น ลุงคำจึงสนใจที่จะนำยางมาปลูกที่ ต.หัวนา ดูบ้างเมื่อปี  2543 เพราะเห็นว่ามีสภาพพื้นที่ใกล้เคียงกับภาคอีสาน แม้จะต้องทนกับคำเยาะเย้ยจากเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่ว่า “ปลูกไว้ให้นกเกาะ” อีกทั้งยังต้องลงทุนซื้อกล้ายางคุณภาพดีจากภาคใต้ซึ่งราคาขณะนั้นอยู่ที่ต้นละ 15 บาท เพื่อนำมาปลูกในพื้นที่ 8 ไร่ แต่ลุงคำก็มั่นใจที่นำเงินเก็บเกือบทั้งหมดมาลงทุน 
 
ด้วยความขยัน ใส่ใจและความอดทนในวันนั้น วันนี้จึงกลายเป็นผลสำเร็จที่ต้องยกนิ้วให้ เนื่องจากพื้นที่ปลูกยางพาราเพียง 8 ไร่ กลายเป็นตู้ ATM ที่กดเงินได้เกือบทุกวัน มีรายได้เป็นรายเดือนและกลายเป็นคลังสินค้าในครัวเรือนที่สามารถกำหนดราคาก่อนเรียกพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ คือ ถ้าพอใจราคาก็ขาย ไม่พอใจราคาก็ไม่ต้องขายเพราะนอกจากยางแผ่นดิบจะสามารถเก็บไว้หลายวันไม่มีปัญหาเรื่องการเน่าเสียเหมือนสินค้าเกษตรอื่น ๆ แล้ว ปัจจุบันราคายางพารายังขยับสูงถึง กก.เกือบ 100 บาท ที่สำคัญแม้แต่ “ขี้ยาง” ยังขายได้ในราคากก.ละเกือบ 50 บาทอีกด้วย
 
“ทำอาชีพเกษตรมาหลายอย่างต้องล้มลุกคลุกคลานปลูกยางพาราแล้วคงต้องบอกว่าคุ้มหลายคุ้ม พันคุ้ม คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม พอปีที่ 7 กรีด ผ่านไปอีก 2 ปีก็คุ้มทุนแล้ว ต้องบอกในวันนี้ว่ายางพาราจะเป็นคำตอบสุดท้ายในอาชีพที่ทำ เป็นอาชีพปลูกแล้วรายได้จัดว่าดีมาก พื้นที่ 8 ไร่ ในวันนี้กรีดได้วันละ 49 แผ่น แผ่นละ 1 กิโลกรัม วันนี้ราคากิโลกรัมละ 96 บาท รวมแล้วได้เงิน 4,700 บาทต่อวัน ดังนั้น 1 เดือนที่กรีด 20 วันลุงจะมีรายได้ 94,000 บาท” ลุงคำเล่าถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปด้วยความภาคภูมิใจในอาชีพชาวสวนยางของตน
 
ทุกวันนี้นอกจากลุงและครอบครัวสามารถปลดหนี้กับสถาบันการเงินทั้งในและนอกระบบยอดรวมทั้งสิ้น 3 แสนบาท ครบทั้งต้นและดอกแล้ว ลุงยังมีเงินพอที่จะซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อมาขยายสวนยางของตนเอง และปลูกบ้านหลังใหม่ราคาเกือบ 2 แสนบาท รถคันใหม่อีก 1 คัน รวมทั้งตั้งเป้าที่จะปลูกบ้านให้กับลูกอีก 1 หลังใน เร็ว ๆ นี้ด้วย ที่สำคัญลุงคำเล่าว่าวันนี้ลูกหลานไม่ต้องไปทำงานในเมืองแล้ว ทุกคนกลับมาทำสวนยางของตัวเองอย่างมีความสุข มีรายได้ทุกวัน และเมื่อต้นยางอายุครบ 25 ปีก็ยังสามารถขายไม้ยางพาราได้ในราคาไร่ละ 9 หมื่นบาทอีกด้วย
 
นอกจากจะลงทุนซื้อกล้ายางมาปลูกเองแล้ว ลุงคำยังได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการยางล้านไร่ของรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งลุงคำได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวว่า การส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เป็นนโยบายที่เดินมาถูกต้องแล้ว เพราะทุกวันนี้ต้นยางพาราในสวนยางของเกษตรกรบ้านหัวนาที่เข้าร่วมโครงการยางล้านไร่ เติบโตดี สม่ำเสมอและคาดว่าอีก 3-5 ปีก็จะเริ่มให้ผลผลิต ซึ่งต้องยอมรับว่าความเข้มงวดของกรมวิชาการเกษตรในการกำหนดมาตรฐานการผลิตต้นยางชำถุงในโครงการ รวมทั้งเงื่อนไขที่ต้องผ่านการตรวจสอบรับรองจากคณาจารย์หลายสถาบันก่อนส่งมอบถึงมือเกษตรกรถึง 90 ล้านต้น ทำให้กล้ายางในโครงการฯมีคุณภาพดี และอัตราการตายน้อยเมื่อเปรียบเทียบกล้ายางพันธุ์เดิม ขณะที่เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการต้องเสี่ยงกับกล้ายางนอกโครงการซึ่งมีราคาสูง และไม่มีผู้รับผิดชอบหรือช่วยเหลือกรณีที่เกิดปัญหา รวมทั้งยังต้องกังวลใจด้วยว่าต้นยางที่ปลูกจะสามารถกรีดได้หรือไม่
 
“ที่สำคัญต้นกล้ายางในโครงการที่แจกฟรีนั้นช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการปลูกถึงไร่ละเป็นพันกว่าบาท ทำให้เกษตรกรแต่ละรายซึ่งจะได้โควตาปลูกคนละ 10 ไร่สามารถประหยัดต้นทุนการผลิตประมาณ 1 หมื่นบาท ดังนั้นการที่รัฐลงทุนผลิตกล้ายางคุณภาพแจกฟรีให้เกษตรกรปลูก 1 ล้านไร่ จึงเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคงและคุ้มค่า นอกจากนี้ในระยะยาวยังเป็นการสร้างสวนในลักษณะของป่าเศรษฐกิจ ที่จะช่วยสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรและประเทศชาติ ตลอดจนช่วยลดปัญหาสังคมทำให้ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา”

นับเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพทางการเกษตรขนาดใหญ่ที่เกิดประโยชน์โดยตรงกับเกษตรกร.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 18 สิงหาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=173732&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology