͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ชุดทดสอบโรคใบขาวอ้อย ตรวจไฟโตพลาสมา ก่อนทำพันธุ์

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 51

ชุดทดสอบโรคใบขาวอ้อย ตรวจไฟโตพลาสมา ก่อนทำพันธุ์

โรคใบขาวในอ้อย ปัจจุบันได้ระบาดแพร่กระจายอย่างรวด เร็วไปสู่ทุกภาคของประเทศไทย สร้างความเสียหายเป็นพื้นที่ถึง 200,000 ไร่ มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท

การป้องกันเกิดโรค เท่าที่ผ่านมาเกษตรกรใช้วิธี แช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำร้อน อุณหภูมิ 50ํc เป็นระยะเวลานาน 2 ชม. เพื่อลดปริมาณเชื้อดังกล่าว รวมทั้ง คัดกรองท่อนพันธุ์ โดยเทคนิคพิเศษเฉพาะ แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้เท่าที่ควร เกษตรกรต้องเฝ้าระวังหลังปลูกลงแปลงประมาณ 1 เดือน พร้อมทั้งต้องสำรวจอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบกออ้อยติดโรคดังกล่าวต้องขุดทิ้ง ฉีดพ่นยา และหากรุนแรงจะต้องไถรื้อตอเผาทำลายกันเลย

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) มีความตระหนักกับภัยที่เกิดขึ้นจึงร่วมกับ บริษัท มิตรผลวิจัยพัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ทำการวิจัยและพัฒนา “ชุดตรวจโรคใบขาวในอ้อย”

ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ บอกว่า โรคใบขาว เกิด จากเชื้อ ไฟโตพลาสมา ลักษณะคล้ายแบคทีเรียแต่ไม่มีผนังเซลล์ รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเล็กเพียง 80-900 นาโนเมตร อาศัยอยู่ในกลุ่มเซลล์ท่ออาหาร

อ้อยที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย...ใบ จะแคบเรียวเล็กกว่าปกติมี สีขาว ต้นแคระแกร็นแตกหน่อเร็ว หน่อใหม่มีลักษณะคล้ายกอตะไคร้ หากแสดงอาการมากจะตายภายใน 2-4 เดือน แต่ถ้าไม่รุนแรงจะยังคงเจริญต่อไปได้ ถ้าใส่ปุ๋ยให้น้ำ อาการของโรคจะลดลง แต่ยังคง “แฝง” อยู่ เมื่อเกษตรกรนำไปปลูกขยาย โรคดังกล่าวจะติดไปกับท่อนพันธุ์ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและกระจายอย่างรวดเร็ว

ดร.พิพัฒน์ วีระถาวร ผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา บริษัท มิตรผลวิจัยฯ บอกว่า... โมโนโคลนอลแอนติบอดีบริสุทธิ์ มีความจำเพาะต่อเชื้อไฟโตพลาสมา ใน การตรวจสอบจะใช้หลักคล้ายกับชุดตรวจการตั้งครรภ์ หรือ ชุดตรวจการติดโรคในกล้วยไม้ โดยการเจาะน้ำอ้อยหยอดลงตลับตรวจ ทิ้งไว้สักครู่และอ่านค่าแถบสีที่ปรากฏขึ้น เพราะถ้าเกิด 2 แถบแสดงว่าอ้อยเป็นโรคใบขาว แต่หากเกิดแถบเดียวด้านบนแสดงว่าไม่เป็นโรค ซึ่งจะรู้ผลภายใน 10 นาที

ชุดตรวจโรคใบขาว จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ซึ่งจะลดความเสียหายที่จะเกิดแก่เกษตรกร และควบคุมไม่ให้โรคไปยังแหล่งอื่นๆอีกด้วย

เกษตรกรรายใดที่สนใจสามารถ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2564-6700 ต่อ 3315 ในวันและเวลาราชการ.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 11 สิงหาคม 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=100145

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology