͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ขยายผลข้าวเหนียวหอมข้าวเหนียวดำพืชสมุนไพรไทย สู่แปลงเพาะปลูกของเกษตรกร

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 51

ขยายผลข้าวเหนียวหอมข้าวเหนียวดำพืชสมุนไพรไทย สู่แปลงเพาะปลูกของเกษตรกร เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2551 ที่ผ่านมา นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และผู้บริหารสำนักงาน กปร. ได้เดินทางไปติดตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดสกลนคร เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป เพื่อสนองพระราชดำริในการช่วยเหลือราษฎร โดยได้ร่วมหารือกับคณะทำงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร เกี่ยวกับผลการดำเนินงานต่าง ๆ รวมถึงข้าวและพลังงานทดแทน
 
สำหรับข้าวนั้นได้เน้นการขยายผลงานศึกษาวิจัยของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ที่ประสบผลสำเร็จและสามารถขยายผลสู่ราษฎรในพื้นที่ได้ โดยเฉพาะข้าวเหนียวพันธุ์สกลนครหรือข้าวเหนียวหอมภูพานที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน
 
ข้าวเหนียวพันธุ์สกลนครหรือข้าวเหนียวหอมภูพาน เป็นข้าวเหนียวหอมที่ไม่ไวต่อแสงสามารถปรับตัวได้ในหลายสภาพทั้งในพื้นที่นาดอน พื้นที่นาที่อยู่ในเขตน้ำชลประทานและพื้นที่สภาพไร่ ข้าวเหนียวพันธุ์นี้เมื่อปี 2525 สถานีทดลองข้าวจังหวัดขอนแก่นได้ทำการผสมเดี่ยวพันธุ์ข้าว โดยใช้พันธุ์ข้าวหอมที่มีลักษณะต้นสูง แข็งแรง มีเมล็ดยาวเรียวมีกลิ่นหอมเป็นพันธุ์แม่และใช้ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 10 ที่มีลักษณะต้นเตี้ยปานกลาง การแตกกอดี ผลผลิตสูง ไม่ไวต่อช่วงแสงเป็นพันธุ์พ่อ ต่อมาปี 2526 และ 2529 สถานีทดลองข้าวจังหวัดสกลนคร ได้ทำการปลูกข้าวคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมรุ่นที่ 2-5 จนได้สายพันธุ์ KKNUR 82003-SKN-69-1-1

ในปี 2534 ได้ดำเนินการปลูกศึกษาในสภาพไร่ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร พร้อมกับปลูกในพื้นที่บริเวณโดยรอบของศูนย์ศึกษาฯ ในชื่อ พันธุ์สกลนคร 69 (SKN 69) ต่อมาได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นพันธุ์หอมภูพาน เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-125 วัน เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง เรียวยาว คุณภาพการขัดสีดี การหุงต้ม นุ่ม หอม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 450 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จะขยายผลสู่แปลงเพาะปลูกของเกษตรกรพื้นที่ภาคอีสานต่อไป

พร้อมกันนี้ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ยังได้ทำการศึกษาทดลอง เพาะปลูกข้าวเหนียวดำซึ่งเป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองเพื่อขยายผลสู่แปลงเพาะปลูกของราษฎรในพื้นที่อีกหนึ่งพันธุ์ด้วย ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ อดีตนิยมปลูกมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีปลูกทั่วไปในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐเวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน พันธุ์ข้าวเหนียวดำมีลักษณะเป็นข้าวพันธุ์ไวแสง และเป็นข้าวเหนียว ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี ทนแล้งและฟื้นตัวจากแล้งได้ดี ต้านทานต่อเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากข้าวทั่วไปคือการปรากฏของสีม่วงบนส่วนต่าง ๆ ของต้น อาทิ กาบใบ แผ่นใบ กลีบดอก เปลือกเมล็ด และเยื่อหุ้มเมล็ด ปริมาณของสีจะเข้มข้นแตกต่างกันไป เป็นลักษณะเฉพาะประจำพันธุ์ซึ่งตามภูมิปัญญาท้องถิ่นข้าวเหนียวดำไร่ จะมีลักษณะสีม่วงเฉพาะส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดเท่านั้น

คุณค่าของข้าวเหนียวดำตามภูมิปัญญาท้องถิ่นเชื่อว่าเป็นสมุนไพร รักษาการตกเลือดของหญิงคลอดลูก โดยนำเอาต้นข้าวเหนียวดำมาต้มกับใบเมี่ยง (ใบชา) รับประทาน การปลูกข้าวเหนียวดำในอดีตจึงมิได้ปลูกเพียงเพื่อบริโภคเพียงอย่างเดียว หากแต่ปลูกเพื่อใช้เป็นพืชสมุนไพรด้วย และรับประทานได้ทั้งเป็นของหวานและของคาว

ทั้งนี้ที่ประชุมคณะทำงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้เน้นการขยายผลการศึกษาเรื่องข้าวทั้งสองชนิดที่กล่าวมาข้างต้นสู่ราษฎรให้มากที่สุด เพื่อให้ราษฎรได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ อย่างเต็มที่นั่นเอง.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 9 สิงหาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=61381&NewsType=2&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology