͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เกษตรฯ เดินหน้าเสริมประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพผลิตยางพาราภาคอีสาน ฝันตั้งศูนย์กลางยางภูมิภาคอินโดจีน

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 51

เกษตรฯ เดินหน้าเสริมประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพผลิตยางพาราภาคอีสาน ฝันตั้งศูนย์กลางยางภูมิภาคอินโดจีน นายธีระชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนายางพาราในภาคอีสาน เป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราของประเทศ เป้าหมายดำเนินการ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา เพิ่มผลผลิตต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิต พัฒนาการแปรรูปยางของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งพัฒนาระบบขนส่ง เพื่อผลักดันให้ภาคอีสานเป็นศูนย์กลางยางพาราในภูมิภาคอินโดจีน

"ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้สูงกว่าพืชชนิดอื่นที่ปลูกในภาคอีสาน โดยขณะนี้มีพื้นที่ปลูกแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านไร่ สามารถทำรายได้ให้เกษตรกรเฉลี่ย 17,600 บาทต่อไร่ต่อปี ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น และจากความร่วมมือของภาครัฐระหว่างไทย ลาว และเวียดนาม ในการสร้างสะพานผ่านจังหวัดมุกดาหาร ผ่านลาวไปยังท่าเรือดานังในประเทศเวียดนาม เป็นการช่วยส่งเสริมระบบขนส่งเชื่อมโยงการค้าของภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งไทยได้รับประโยชน์สามารถร่นระยะทางการขนส่งยางพาราไปยังจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีได้อีกมาก"

นายธีระชัย กล่าวอีกว่า ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางมากที่สุดของโลก ในปี 2550 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 15 ล้านไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ คิดเป็นพื้นที่ที่เปิดกรีดยางได้แล้วประมาณ 11 ล้านไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางเดิม ผลผลิตทั้งประเทศรวม 3 ล้านตัน ส่งออกจำนวน 2.7 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 88.5 ของปริมาณการผลิต และใช้ในประเทศเพียง 0.37 ล้านตัน หรือร้อยละ 11.5 ของผลผลิตยางทั้งประเทศ ทั้งนี้ไทยยังมีพื้นที่ที่สามารถปลูกยางได้อีกจำนวนมากโดยเฉพาะแหล่งปลูกยางใหม่ทางภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศ

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 6 สิงหาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=116867

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology