͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

แนะปลูกข้าวด้วยวิธี "โยนกล้า" ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 51

แนะปลูกข้าวด้วยวิธี "โยนกล้า" ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า จากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ต้องการแก้ไขปัญหาต้นทุนการปลูกข้าวของเกษตรกรที่ปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจัยการผลิตต่างๆ ดังนั้นกรมการข้าว โดยศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีจึงได้เสนอทางเลือกใหม่แก่เกษตรกรปลูกข้าวอ้างอิงจากผลการศึกษาวิจัยการปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า (parachute) ของ นางนิตยา รื่นสุข นักวิชาการเกษตร 8ว และคณะ ซึ่งพบว่าวิธีการดังกล่าวประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวได้มาก เพราะใช้เพียง 3-4 กิโลกรัม/ไร่ เท่านั้น ขณะที่ชาวนาที่ปลูกข้าวโดยวิธีการหว่านน้ำตมจะใช้เมล็ดพันธุ์ 30-40 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งที่ภาครัฐแนะนำอัตราเมล็ดพันธุ์ 15-20 กก./ไร่ ส่วนการปักดำจะใช้เมล็ดพันธุ์ 6-10 กิโลกรัม/ไร่ และเมื่อเปรียบเทียบผลผลิต พบว่า การหว่านน้ำตมได้ผลผลิต 775 กิโลกรัม/ไร่ การปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ผลผลิต 875 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่การปลูกโดยวิธีการโยนกล้าได้ผลผลิต 880 กิโลกรัม/ไร่ ที่ความชื้น 14% 

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวต่อไปอีกว่า ข้อดีของการปลูกข้าวโดยวิธีการโยนกล้า ช่วยลดต้นทุนการผลิตของชาวนาในด้านของเมล็ดพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงขึ้น กิโลกรัมละ 22-25 บาท และเป็นทางเลือกให้ชาวนานำไปปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาการระบาดของข้าววัชพืช ในกรณีที่ชาวนาต้องการปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำเพื่อควบคุมและลดการระบาดของข้าววัชพืช แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นนาหล่ม รถดำนาเข้าไม่ได้ ซึ่งทั้งการทำนาดำ และการโยนกล้าจะใช้ระดับน้ำเป็นตัวควบคุมการงอกของข้าววัชพืชเหมือนกัน แต่ถ้ายังมีข้าววัชพืชงอกขึ้นมาได้ ชาวนาก็สามารถเห็นและแยกแยะได้อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มปลูก ต่างกับนาหว่านน้ำตมซึ่งจะเห็นข้าววัชพืชชัดเจนในช่วงข้าวแตกกอและออกรวง ขณะเดียวกันการปลูกข้าวแบบโยนกล้านี้แปลงนาข้าวจะมีความโปร่งโล่ง ซึ่งจะลดการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าวอันนำไปสู่การลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 6 สิงหาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=116868

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology