͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

'ดอกพระจันทร์' ปลูกประดับก็ได้ รับประทานก็มีประโยชน์

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 51

'ดอกพระจันทร์' ปลูกประดับก็ได้ รับประทานก็มีประโยชน์ ตอนที่ไปงานของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ณ ศูนย์การค้าแห่งหนึ่งมีพืชชนิดหนึ่งน่าสนใจเลยเก็บข้อมูลไว้ ถือโอกาสนำมาเผยแพร่ต่อในวันนี้ บางคนอาจจะรู้จักมาแล้ว แต่ข้าพเจ้าเพิ่งจะรู้จักนี่แหละ มันคือ “ดอกพระจันทร์” ชื่อที่แสนจะโรแมนติกนี้ บางคนอาจจะเรียกว่า ดอกชมจันทร์ หรือบางท้องที่อาจจะเรียกว่า ดอกบานดึก เรียกแบบนี้คงเรียกจากพฤติกรรมของมันอย่างแน่นอน คือดอกจะบานในช่วงประมาณทุ่มสองทุ่มเป็นต้นไป
 
ข้อมูลจาก วว.บอกไว้ว่า ดอกพระจันทร์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และในกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย พืชในสกุลนี้มีประมาณ 650 ชนิด หลายชนิดเป็นไม้ประดับที่รู้จักกันดีคือ มอร์นิ่งกลอรี่ หรือผักบุ้งฝรั่ง และบางชนิดเราก็รู้จักกันดีอย่างคุ้นเคยเสียด้วย แต่ไม่นึกว่ามันจะเป็นพวกเดียวกันก็ชื่อมันไม่ได้โรแมนติกเหมือนดอกพระจันทร์นี่นา... นั่นก็คือ ผักบุ้ง และมันเทศ นั่นเอง แต่ถ้าหากพินิจพิจารณาดูดี ๆ แล้วมันก็คล้ายกันนะ ทั้งดอกทั้งใบ
 
สำหรับการปลูก ทาง วว.เขาแนะว่า ต้นดอกพระจันทร์ สามารถ ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ปลูกต้องระบายน้ำดี เจริญเติบโตได้ดีในสภาพกลางแจ้ง การปลูกอาจจะยกแปลงขึ้นคล้ายกับแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง วิธีปลูกให้ขุดหลุมลึก 20-30 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัม/หลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าลงปลูก โดยระยะปลูกที่เหมาะสมคือระหว่างต้น 40-50 ซม. ระหว่างแถว 70-100 ซม.
 
ช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูกควรให้น้ำวันละ 2 ครั้งคือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว  จึงให้น้ำวันละครั้ง เมื่อต้นดอกพระจันทร์เริ่มแตกยอดอ่อนควรทำค้าง  เพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้น โดยทำค้างเหมือนกับค้างถั่วฝักยาวก็ได้ หรือจะทำแบบซุ้มก็ได้ มันจะออกดอกหลังปลูกประมาณ 2-3 เดือน
 
ต้นดอกพระจันทร์มีดอกสีขาวสวยสดงดงาม จะบานในตอนกลางคืนและมีกลิ่นหอม ในต่างประเทศเช่น อเมริกา และทางยุโรป เขาจะปลูกเป็นไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่นภาคใต้ และภาคอีสาน เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือนำมาลวกเพื่อจิ้มน้ำพริกรับประทาน
 
ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของดอกพระจันทร์พบว่า เป็นผักที่มีไขมันต่ำมาก และมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และยังประกอบไปด้วยวิตามินเอ บี1 บี2 บี3 โปรตีน เป็นต้น

ผู้สนใจติดต่อได้ที่ สถานีวิจัยลำตะคอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หรือติดต่อทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ที่ [email protected]

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 15 กรกฎาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=170128&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology