͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

วช.จับมือกรมข้าวต่อยอดงานวิจัย ลดต้นทุนผลิตนำร่อง 6 จว.ภาคกลาง

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 51

วช.จับมือกรมข้าวต่อยอดงานวิจัย ลดต้นทุนผลิตนำร่อง 6 จว.ภาคกลาง ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยจากวิกฤติข้าวขาดแคลน อันเป็นผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้หลายประเทศไม่ได้ผลผลิตข้าวเหมือนทุกปี วช. จึงได้ร่วมมือกับกรมการข้าว จัดทำโครงการ 2-V Research Program เพื่อให้เกิดการงอกเงยทั้ง "ห่วงโซ่คุณค่า" นำงานวิจัยจากหิ้งไปสู่ห้าง จนถึงการวิจัยเพื่อ "มูลค่าเพิ่ม" ทั้งนี้เนื่องกรมการข้าวในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่วิจัยเรื่องข้าว ทว่าขาดแคลนเงินทุนวิจัย จึงร่วมกับสภาวิจัยแห่งชาติในฐานะแหล่งทุนวิจัย นำผลงานวิจัยที่มีอยู่เดิมของทั้ง 2 หน่วยงาน เฟ้นหาวิธีลดต้นทุนการปลูกข้าวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีกรอบระยะเวลาเบื้องต้นนาน2ปี

โดยในเดือนมิถุนายนจะมีการนำร่องปลูกใน 6 จังหวัดภาคกลาง อาทิ จ.ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี อ่างทอง อุทัยธานี ซึ่งมีการปลูกข้าวตลอดปี คิดเป็นรอบการปลูกข้าวนาปีได้ 2 รอบ และรอบการปลูกข้าวนาปรังได้ 4 รอบ ซึ่งเพียงพอแก่การสรุปผลการทดลองภายในปี 2552

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าวกล่าวว่า สำหรับการร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงานในครั้งนี้จะมุ่งเน้นในการลดต้นทุนการผลิต โดยมีขั้นตอนการบริหารจัดการข้าว 7 ขั้นตอน โดยหวังว่าหลังความร่วมมือจะทำให้ต้นทุนลดลง 500-1,000/ไร่ และนอกจากการลดต้นทุนการผลิตแล้ว กรอบความร่วมมือครั้งนี้ยังจะทำให้เกิดการศึกษาวิจัยในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการศึกษาพันธุ์ข้าวทนโลกร้อน ในอนาคตด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 29 พฤษภาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=109266

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology