͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ ด้วยสาหร่ายสด

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 51

เลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ ด้วยสาหร่ายสด

เพ็ญแข คุณาวงค์เดช, วิเชียร สาคเรศ พิศมัย สมสืบ สุภิชา แก้วมานพ และคณะ ได้ทำการศึกษาวิจัยการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อด้วยสาหร่ายสดในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี วันนี้ได้รับข้อสรุปที่สามารถนำมาขยายผลสู่การเลี้ยงของเกษตรกรได้
 
ทั้งนี้ได้ทดลองเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ ชนิด Haliotis asinina Linnaeus,  ด้วยอาหาร 3 แบบ คือ สาหร่ายสด สาหร่ายแห้ง แห้งด้วยความเย็น และอาหารผสมอัดเม็ด แผนการทดลองเป็นแบบ Completely Randomized Block มี 3 ชุดการทดลอง แต่ละชุดการทดลองมี 3 Blocks โดยใช้ขนาดของหอยทดลองต่างกัน 3 ขนาด เป็น Block เลี้ยงหอยแต่ละ Block ในตะกร้าพลาสติกขนาด 20x25x14 เซนติเมตร ซึ่งแขวนในถังพลาสติกขนาด 47x61x57 เซนติเมตร โดยแต่ละถังเลี้ยงหอยที่ความหนาแน่น 90 ตัว/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ละครั้งในอัตรา 100 เปอร์เซ็นต์ ทดลองเลี้ยงเป็นระยะเวลา 120 วัน
 
ผลการทดลอง พบว่า อัตราการ เติบโตโดยน้ำหนักเฉลี่ยของหอยเป๋าฮื้อ ทั้ง 3 ชุดการทดลองมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) คือ หอยที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายสดมีอัตราการเติบโตดีที่สุด รองลงมาคือหอยที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายแห้ง และหอยที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมอัดเม็ดมีอัตราการเติบโตต่ำสุด อัตราการเติบโตโดยความยาวเปลือกเฉลี่ยของหอยที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายสด มีการเติบโตสูงสุดแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) กับหอยที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมอัดเม็ดแต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) กับหอยเป๋าฮื้อที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายแห้ง ส่วนผลของขนาดหอยทดลองทั้ง 3 block พบว่า หอยเป๋าฮื้อขนาดเล็กมีอัตราการเติบโตโดยน้ำหนักเฉลี่ย และอัตราการเติบโตโดยความยาวเปลือกเฉลี่ยสูงกว่าอย่างแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) กับหอยเป๋าฮื้อขนาดกลางและขนาดใหญ่ อัตราการรอดตายของหอยเป๋าฮื้อทั้ง 3 ชุดการทดลอง และทั้ง 3 block มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ทางด้านคุณภาพน้ำแต่ละสัปดาห์ พบว่า แอมโมเนีย และไนไตรท์ ของน้ำในถังที่เลี้ยงหอยด้วยสาหร่ายสด และที่เลี้ยงด้วยสาหร่ายแห้งมีค่าน้อยกว่าและแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) กับน้ำในถังที่เลี้ยงหอยด้วยอาหารผสมอัดเม็ด

และหอยเป๋าฮื้อวัยอ่อนจะกินไดอะตอมเกาะติด จำพวก Nitzchia sp. และ Navicula sp. ส่วนลูกหอยขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไปสามารถกินสาหร่ายทะเลจำพวกสาหร่ายวุ้น หรือสาหร่ายทะเลชนิดต่าง ๆ ได้ดี เช่น สาหร่ายผมนาง (Gracilaria sp.) และสาหร่ายวุ้น (Acantophora และ Laurencia sp.) โดยจะออกมากินอาหารในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบซ่อนอยู่ตามที่หลบซ่อนต่าง ๆ และเมื่อให้สาหร่ายสดกินจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง หอยจะมีขนาดความยาวเปลือก 5 - 6 ซม. ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการทั่วไป

แต่ปัญหาในการเลี้ยงหอยโดยใช้สาหร่ายสด เช่น ในช่วงฤดูฝนที่น้ำมักจืดสาหร่ายจะไม่โต ทำให้ขาดแคลนไม่เพียงพอที่ จะนำมาเป็นอาหารให้หอย ลูกหอยจะชะงักการเติบ โต จึงมีการทดลองผลิตอาหารแผ่นสำเร็จรูปมาใช้ทดแทนและจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าลูกหอยและพ่อแม่พันธุ์หอยกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ลูกหอยขนาดความยาวเปลือก 1 ซม. เมื่อให้กินอาหารสำเร็จรูปจะใช้เวลาเพียง 5-6 เดือนจะเติบโตถึงขนาดที่ตลาดต้องการได้ เมื่อเลี้ยงที่ความหนาแน่น 400 ตัว/ตารางเมตร และอนาคตจะมีการคิดค้นสูตรอาหารหลาย ๆ สูตรเพื่อที่จะลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำที่สุด.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 28 มีนาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=158912&NewsType=1&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology