͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

มก.พัฒนาสินค้าเกษตรป้อนครัวบินไทย เน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานจีเอพี

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 51

มก.พัฒนาสินค้าเกษตรป้อนครัวบินไทย เน้นความปลอดภัยตามมาตรฐานจีเอพี รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับคุณพิศมัย จันทรุเบกษา กรรมการผู้จัดการฝ่ายครัวการบินไทย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 มี.ค.51 ณ ห้องสุพรรณหงส์ สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมกล่าวว่า ปัจจุบันสภาวะการแข่งขันในตลาดเสรีมีการกำหนดกฎ กติกา ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้า จึงจำเป็นที่จะคัดเลือกสินค้าของผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้าเกษตรหรืออาหารแปรรูปจากการเกษตรที่มุ่งเน้นการผลิตที่มีความปลอดภัย ได้มาตรฐานทัดเทียมสากลตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และ สามารถทวนสอบไปยังแหล่งผลิตหรือช่วงเวลาที่ผลิตได้ในกรณีที่เกิดปัญหาของสินค้า ด้วยความตระหนักดังกล่าว บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จึงปรับกลยุทธ์ในการให้บริการผู้โดยสารและลูกค้าสายการบินต่างๆ โดยมุ่งเน้นการผลิตอาหารปลอดภัยจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยตามระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ Good Agricultural Practice (GAP) โดยให้ ม.เกษตรศาสตร์ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรเข้ามาสนับสนุนในด้านวิชาการ อาทิ พันธุ์พืช การจัดการพื้นที่แปลง ดิน วัสดุปลูก ปุ๋ย-ธาตุอาหาร การให้น้ำ การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิตและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขลักษณะ เป็นต้น ซึ่งริเริ่มดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งในแต่ละปีมีการจัดซื้อวัตถุดิบในโครงการมาแล้วจำนวน 10 กลุ่ม 31 รายการ เป็นวงเงิน 86 ล้านบาทต่อปี และในปี 2551-2552 จะเพิ่มขึ้นเป็น 18 กลุ่ม 41 รายการ อาทิ ผักกวางตุ้งไต้หวัน มะนาว กล้วยหอมทอง แคนตาลูป แตงโม มะละกอฮาวาย พริกขี้หนูสวน หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น GAP เป็นระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิตทางการเกษตร ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จุลินทรีย์ก่อโรค

การดำเนินการในส่วนของม.เกษตรศาสตร์ จะแสวงหาแหล่งผู้ผลิตวัตถุดิบ มีระบบการผลิต GAP ที่สามารถผ่านการรับรองกลุ่มโดยมหาวิทยาลัย เพื่อเสนอให้บริษัทการบินไทยดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษอีกด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยจะเข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางการปฏิบัติ และการจัดการระบบการผลิตที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรผู้ผลิต และมีการติดตามตรวจประเมินคุณภาพ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 25 มีนาคม 2551
http://matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROeVlXb3dNVEkxTURNMU1RPT0=§ionid=TURNek1RPT0=&day=TWpBd09DMHdNeTB5TlE9PQ==

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology