͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

แม่โจ้แนะปลูกพืชไบโอดีเซล ชูไม้ป่า "มะเยาหิน" ให้น้ำมันปริมาณสูง

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 51

แม่โจ้แนะปลูกพืชไบโอดีเซล ชูไม้ป่า "มะเยาหิน" ให้น้ำมันปริมาณสูง ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี ผอ.ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เปิดเผยกล่าวถึง โครงการวิทยาลัยชุมชนไบโอดีเซล ได้ทดลองปลูกพืชมะเยาหินในพื้นที่ 40 ไร่ ที่บ้านแม่นาป๊าก หมู่ 6 ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เนื่องจากมีคุณลักษณะของพืชพลังงานทดแทนตัวใหม่ โดย "มะเยาหิน" เป็นไม้ป่ายืนต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ลักษณะต้นคล้ายต้นหูกวาง เมล็ดมะเยาหินมีลักษณะกลมแบนเล็กน้อย ผิวขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง คล้ายกะลา เนื้อในเมล็ดส่วนที่ใช้ทำน้ำมันมีสีขาวอมเหลือง เนื้อแน่น เมล็ดมีขนาดใหญ่เกือบเท่าหัวแม่มือ ให้ปริมาณน้ำมันในเกณฑ์ที่สูง ส่วนเปลือกใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือถ่านอัดได้อีกด้วย

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิกล่าวด้วยว่า ที่วิทยาลัยชุมชนบ้านแม่นาป๊ากยังจัดที่พักให้ความรู้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลแต่ละชุมชน ล่าสุดวิทยาลัยชุมชนฯ ได้แนะนำเกษตรกรปลูกพืชพลังงานทดแทนมะเยาหินนี้เช่นกัน ขณะที่ทางเครือข่ายชุมชนไบโอดีเซลแห่งประเทศไทยก็ให้ความสนใจ เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อวิทยาลัยชุมชนฯ เพื่อนำมะเยาหินไปปลูกได้ ล่าสุดรัฐบาลยังไม่ชัดเจนในการช่วยเหลือกลุ่มผู้ผลิตไบโอดีเซลโดยเฉพาะในระดับชุมชน มีเพียงผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีหลักทรัพย์มั่นคงและมีการจัดการที่ดีเท่านั้นที่รัฐบาลให้การสนับสนุน

"หากวิทยาลัยชุมชนฯ แห่งนี้เข้มแข็ง สามารถให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งเข้าร่วมในการดำเนินการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลใช้ในองค์กรหรือชุมชนนั้นๆ ได้คือ จัดระบบและการจัดการที่ดี มีการทำปั๊มน้ำมันไบโอดีเซลในองค์การบริหารแต่ละแห่ง ก็จะช่วยได้ในการลดใช้น้ำมันที่ราคาแพงในขณะนี้ได้ และเชื่อว่ารัฐบาลจะให้ความสนใจได้ในอนาคตอันใกล้นี้" ผศ.ดร.ณัฐวุฒิกล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 24 มีนาคม 2551
http://matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROeVlXb3dNakkwTURNMU1RPT0=§ionid=TURNek1RPT0=&day=TWpBd09DMHdNeTB5TkE9PQ==

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology