͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

ข้าวสังข์หยด "พัทลุง" ไปได้สวย แต่ยังติดบ่วงขาดน้ำ-ศัตรูพืชรุม

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 51

ข้าวสังข์หยด "พัทลุง" ไปได้สวย แต่ยังติดบ่วงขาดน้ำ-ศัตรูพืชรุม นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯให้นำข้าวสังข์หยดกลับมาฟื้นฟูปลูกใหม่ เพื่อเผยแพร่และรักษาพันธุ์ข้าวไว้ โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้พัฒนาปรับปรุงให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ และได้รับคำประกาศรับรองให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า "ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง" ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต (สศข.) 9 จ.สงขลา จึงศึกษาผลตอบแทนและโครงสร้างตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ปีการเพาะปลูก 2549/50 เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำมาประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายแนวทางการผลิตของเกษตรกร

ด้าน นางยินดี แก้วประกอบ ผ.อ.สศข.9 กล่าวถึงผลการศึกษาว่า การผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงมีต้นทุนการประมาณไร่ละ 2,457 บาท ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 340 กก. เกษตรกรขายได้ประมาณ ก.ก.ละ 11 บาท. โดยจะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,275 บาท/ไร่ ขณะที่โครงสร้างตลาดมี 2 ระดับ คือ ตลาดท้องถิ่น และตลาดระดับภูมิภาค

ด้านการตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ปริมาณข้าวเปลือก จะเคลื่อนย้ายไหลออกจากเกษตรกรผ่านโรงสีร้อยละ 40 และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร้อยละ 33 โดยโรงสีจะนำผลผลิตข้าวเปลือกไปแปรรูปเป็นข้าวสาร ข้าวกล้อง และข้าวซ้อมมือ รวมทั้งส่งไปจำหน่ายยังตลาดชายแดนไทย-มาเลเซีย ตลาดทุ่งสง และตลาดอื่นๆ ส่วนปัญหาการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงนั้น เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องน้ำ รองลงมาเป็นปัญหาศัตรูพืชและปัจจัยการผลิต

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 18 มีนาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=100408

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology