͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

'มะเดื่ออบแห้ง' ความก้าวหน้าของการปลูกมะเดื่อฝรั่งในไทย

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 51

'มะเดื่ออบแห้ง' ความก้าวหน้าของการปลูกมะเดื่อฝรั่งในไทย จากที่หลายคนที่เชื่อว่า “มะเดื่อฝรั่ง” ไม่สามารถปลูกได้ในสภาพอากาศร้อนหรือปลูกได้ในพื้นที่ราบหมดไป เนื่องจากมีตัวอย่างของเกษตรกรได้นำต้นมะเดื่อฝรั่งหลายสายพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศไปปลูกในทั่วทุกภาคของประเทศไทยติดผลดีหลายสายพันธุ์ อย่างแปลงปลูกทดลองของชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่ราบใน ต.คลองคะเชนทร์ อ.เมือง จ.พิจิตร ได้ทดลองปลูกมะเดื่อฝรั่งมากกว่า 10 สายพันธุ์ เริ่มทดลองปลูกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 มาถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2551 ได้สรุปข้อมูลเบื้องต้นว่าสายพันธุ์ที่เหมาะจะปลูกในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคตโดดยึดหลัก “ให้ผลผลิตดกและรสชาติดี” มีอยู่ 4 สายพันธุ์คือ พันธุ์ญี่ปุ่นหรือพันธุ์ Black Jack, พันธุ์บราวน์ตุรกี, พันธุ์ออสเตรเลียและพันธุ์แบล็คมิสชั่น เป็นต้น
 
ความจริงแล้วความนิยมและการค้าขายมะเดื่อฝรั่งทั่วโลกส่วนใหญ่จะแปรรูปเป็น “มะเดื่อฝรั่งอบแห้ง” ปัจจุบันมะเดื่อฝรั่งอบแห้งที่มีขายอยู่ในบ้านเรายังมีราคาสูงมากขายถึงผู้บริโภคในราคากิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากตะวันออกกลาง มะเดื่อฝรั่งอบแห้งจัดอยู่ในกลุ่มอาหารและยา เนื่องจากเป็นผลไม้อบแห้ง ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก อุดมไปด้วยแคลเซียม และเส้นใยอาหาร (มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่ามะเดื่อฝรั่งมีปริมาณเส้นใยมากกว่าผักและผลไม้ชนิดใด ๆ) มีวิตามินเอ, บีและซี ในผลมะเดื่อฝรั่งแต่ละผลจะมีน้ำตาลธรรมชาติอยู่ถึง 83% ที่สำคัญจัดเป็นผลไม้อบแห้งที่เหมาะต่อผู้สูงอายุที่ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยในระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
 
ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ทดลอง นำมะเดื่อฝรั่งพันธุ์บราวน์ตุรกีและพันธุ์ออสเตรเลียมาทดลองอบแห้งในตู้อบผลไม้แบบลมร้อนโดยใช้อุณหภูมิในการอบเฉลี่ย 70-80 องศาเซลเซียส ใช้เวลาอบนาน 10-12 ชั่วโมง ผลปรากฏว่าได้มะเดื่อฝรั่งอบแห้งที่มีรสชาติอร่อยและมีคุณลักษณะใกล้เคียงกับที่นำเข้าจากต่างประเทศ หลายคนที่ได้รับประทานถามว่าได้ใส่น้ำผึ้งหรือเพิ่มเติมน้ำตาลไปด้วยหรือไม่ ความจริงแล้วมะเดื่อเมื่ออบจนแห้งจะมีส่วนของน้ำที่มีกลิ่นหอมคล้ายกับน้ำผึ้งมีความแฉะเล็กน้อยออกมานอกผล ในเบื้องต้นสรุปได้ว่าพันธุ์บราวน์ตุรกีและพันธุ์ออสเตรเลียนำมาอบแห้งได้อย่างแน่นอนและทั้ง 2 พันธุ์นี้ให้ผลผลิตดกมาก แต่เกษตรกรที่ปลูกจะต้องมีการตัดแต่งกิ่งเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะพันธุ์ออสเตรเลียจะต้องตัดต้นให้สูงจากพื้นดินเฉลี่ย 80 เซนติเมตร-1 เมตร สำหรับพันธุ์บราวน์ตุรกีให้ตัดแต่งกิ่งแบบต้นน้อยหน่า ควรจะตัดแต่งในช่วงเดือนมิถุนายนเพื่อให้ต้นแตกกิ่งใหม่พร้อมให้ผลผลิตเก็บผลิตผลได้ในช่วงต้นฤดูหนาวเรื่อยมาจนถึงเดือนมีนาคม “มะเดื่อฝรั่งอบแห้ง” ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งในการพัฒนา การปลูกมะเดื่อฝรั่งในประเทศไทยในขณะนี้

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 17 มีนาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=54428&NewsType=2&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology