͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

เตือนโรงฆ่าสัตว์ปีกเข้มมาตรฐาน มกอช.เรียกถกปูทางขยายสินค้า"ฮาลาล"ตลาดโลก

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 51

เตือนโรงฆ่าสัตว์ปีกเข้มมาตรฐาน มกอช.เรียกถกปูทางขยายสินค้า"ฮาลาล"ตลาดโลก นายสรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ภายหลังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออี (UAE) อนุญาตให้ประเทศไทยส่งออกสินค้าไก่ปรุงสุกไปยังยูเออีได้ ถือว่าไทยประสบความสำเร็จขั้นแรกในการส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังกลุ่มตะวันออกกลาง โดยในปี 2551 นี้ คาดว่าจะสามารถส่งออกได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ1,500 ล้านบาท ในขณะเดียวกันเพื่อให้ผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ได้แก่ ผู้ควบคุมการเชือดประจำโรงงาน(Halal Supervisor) ที่ปฏิบัติงานด้านตรวจรับรองการเชือด สัตวแพทย์ประจำโรงงาน และเจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต มีความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติในการส่งออกมากขึ้น มกอช. จึงได้เร่งชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ปีกจำนวน 24 แห่ง โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก 36 แห่ง รวมทั้งผู้ควบคุมการเชือดประจำโรงงาน และผู้ดำเนินการตรวจสอบการผลิตอาหารฮาลาล (Halal Inspector) ให้ทราบถึงข้อกำหนดสำหรับอาหารนำเข้าของยูเออี เพื่อพัฒนาระบบการผลิตและเพิ่มศักยภาพการส่งออกสินค้าฮาลาลไทย

ในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้กำหนดให้มีระบบตรวจสอบรับรองสินค้าปศุสัตว์ ตั้งแต่ฟาร์มมาตรฐาน โดยต้องมีการตรวจสอบสัตว์ที่ฟาร์ม ทั้งยังต้องควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ ขณะเดียวกันต้องมีการรับรองโรงงานเพื่อการส่งออก พร้อมตรวจสอบควบคุมที่โรงงานแปรรูป และการส่งออกจะต้องมีเอกสารบันทึกข้อมูล และมีใบรับรองสุขอนามัยและใบรับรองฮาลาลกำกับสินค้าที่ส่งออกด้วย ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้เน้นให้ผู้ประกอบการ ปฏิบัติเกี่ยวกับการเชือดอย่างเคร่งครัด โดยให้เป็นไปตามศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลาม และต้องมีผู้ควบคุมการเชือดสัตว์คอยดูแล อีกทั้งยังระบุว่า ไก่สดที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าไก่แปรรูปเพื่อส่งออก ต้องมาจากโรงงานที่ผ่านการรับรองแล้วเท่านั้น

นายสรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไทยยังมีโอกาสสูงที่จะแข่งขันเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะการเปิดตลาดใหม่ในหลายกลุ่มประเทศ ได้แก่ แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันออก เป็นต้น สำหรับผู้ส่งออกรายใหม่จะต้องพิจารณาความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป็นหลักด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 10 มีนาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=99276

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology