͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันดีที่ไม่ควรมองข้าม

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 51

น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันดีที่ไม่ควรมองข้าม กว่า 40 ปีที่ผ่านมา ไขมันได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่ไม่ดี สร้างปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง ข้อมูลที่ออกมาในสมัยนั้นจึงได้แนะนำให้บริโภคอาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ แม้แต่ขนมและของว่างก็จะมีการใช้ไขมันให้น้อยลงเพื่อหวังที่จะลดปัญหาเหล่านั้น แต่ผลที่ปรากฏก็ไม่ได้ช่วยลดการเกิดปัญหาสุขภาพ ในทางตรงกันข้ามประชากรกลับมีปัญหาโรคอ้วน โรคเบาหวานมากยิ่งขึ้นไปอีก และปัญหาใหญ่คือโรคหัวใจและโรคมะเร็งก็ไม่ได้ลดลงจากการบริโภคอาหารไขมันต่ำ ปัจจุบันข้อมูลการวิจัยเปิดเผยว่าไขมันทุกชนิดไม่เหมือนกัน หรือไขมันทุกชนิดไม่เลวไปซะหมดอย่างที่เคยเข้าใจกัน ความจริงก็คือไขมันจะมีทั้งชนิดดีและชนิดเลว และการเลือกบริโภคไขมันชนิดดีหลีกเลี่ยงไขมันชนิดเลวเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรครองจากข้อแนะนำในการควบคุมน้ำหนัก น้ำมันที่เราใช้ปรุงอาหารในชีวิตประจำวันจึงมีบทบาทสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้แนะนำไว้ว่าน้ำมันที่มีองค์ประกอบของไขมันดีสูงที่มักใช้กันในปัจจุบันได้แก่น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดองุ่น รองลงมาได้แก่น้ำมันถั่วเหลืองข้าวโพด ดอกทานตะวัน ดอกคำฝอย ฝ้าย รำข้าว เป็นต้น
 
น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันมะกอกแห่งทวีปเอเชีย เป็นที่ยอมรับกันในวงการว่าน้ำมันมะกอกของชาวเมดิเตอเรเนียนเป็นน้ำมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดต่าง ๆ ในปริมาณที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ล่าสุดวิทยาศาสตร์การอาหารพบว่าในเอเชียก็มีน้ำมันเมล็ดชาที่มีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดต่าง ๆ ในปริมาณที่ดีที่ไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก นั่นคือ น้ำมันเมล็ดชา เป็นน้ำมันที่นิยมใช้กันทางใต้ของประเทศจีน เช่นในชาวหูหนาน มีการใช้น้ำมันชามานานกว่า 1,000 ปี เป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดของดอกชาคามิเลียโอลิเฟร่า (Camellia oleifera Abel,Theaceae) โดยวิธีการหีบเย็น (Cold pressed) ส่วนในประเทศญี่ปุ่นใช้น้ำมันชาที่สกัดมาจากชาพันธุ์ Camellia japonica
 
ปัจจุบันต้นคามิเลียได้ถูกนำมาปลูกที่ อ.แม่ฟ้าหลวง เพื่อการศึกษาในโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อค้นคว้าหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมในการปลูกที่ประเทศไทย
 
“น้ำมันเมล็ดชา” เป็นน้ำมันที่ได้รับสมญาว่าเป็น “น้ำมันมะกอกแห่งตะวันออก” เพราะจากการศึกษาวิจัยของวิทยาศาสตร์การอาหารล่าสุดพบว่า น้ำมันเมล็ดชามีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดต่าง ๆ ในปริมาณที่ดีที่ไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก ซึ่งประโยชน์ดี ๆ ของน้ำมันเมล็ดชา เช่นมีกรดไขมันอิ่มตัว (ไขมันไม่ดี) ต่ำ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (ไขมันดี) ในรูปของกรดโอเลอิก (โอเมก้า 9) สูงถึง 88% มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งในรูปโอเมก้า 6 ประมาณ 13-28% และมีกรดโอเมก้า 3 (เช่น กรดไขมัน ประเภทไลโนเลนิค) ประมาณ 1-3% ไม่มีกรดไขมันทรานซ์ มีวิตามินอีสูง ซึ่งวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยยืดอายุการใช้งานของน้ำมันให้นานขึ้น
 
นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บีและดี มีสารแคททีซินซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง ในรูปสารโพลีฟีนอล ซึ่งมีส่วนช่วยลดระดับของแอลดีแอล (คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) จึงช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบตัน และป้องกันการอักเสบของเนื้อเยื่อ
 
ที่สำคัญน้ำมันเมล็ดชายังมีคุณสมบัติพิเศษที่น่าสนใจ คือ มีกลิ่นหวานหอมสีทองออกเขียวอ่อน มีจุดเดือดเป็นควันสูงถึง 252 องศาเซลเซียส หรือ 486 องศาฟาเรนไฮต์ จึงใช้ประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูงมาก ๆ เช่น การทอดได้โดยไม่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันที่มีจุดเดือดเป็นควันต่ำกว่า เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา และน้ำมันเมล็ดองุ่น เป็นต้น
 
การปรุงอาหารเป็นสิ่งที่อยู่คู่ครอบครัวไทย สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการปรุงอาหาร หรือประกอบอาหารแต่ละมื้อ คือ น้ำมันที่จะต้องนำมาใช้ทั้งผัด ทอด หรือคลุกเคล้ากับอาหารเป็นต้น การเลือกใช้น้ำมันจึงเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ การที่น้ำมันเมล็ดชามีองค์ประกอบของกรดไขมัน อิ่มตัวต่ำ กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) แถมยังช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งเป็นไขมันที่มีประโยชน์ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น หัวใจ อัมพาต ฯลฯ การที่น้ำมันเมล็ดชามี จุดเดือดเป็นควันสูง จึงช่วยลดการแตกตัวของน้ำมันและการเกิดสารอื่น ๆ ที่ล้วนก่อปัญหาสุขภาพได้
 
แม้น้ำมันเมล็ดชายังไม่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากนัก แต่องค์ประกอบของกรดไขมันที่มีสัดส่วนเหมาะสมทัดเทียมน้ำมันมะกอก ทั้งยังมีราคาถูกกว่าและมีจุดเดือดเป็นควันสูงกว่า จึงให้คุณประโยชน์ที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายและช่วยเสริมสุขภาพ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ห่วงใยสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ฯลฯ การดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันนอกจากอาหารหลัก 5 หมู่ ในสัดส่วนที่สมดุลแล้วการเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีสูง โดยเฉพาะกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง ๆ มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ ๆ  ไขมันทรานซ์ต่ำ ควบคู่กับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นดูแลน้ำหนักตัวจะช่วยให้คุณมีสุขภาพดีไปตลอด

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 6 มีนาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=53898&NewsType=2&Template=1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology