เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 51
ช่วงนี้...ข่าวเกี่ยวกับปุ๋ยเคมีราคาแพง...แถมยังขาดตลาดและเกิดมีปุ๋ยปลอมระบาดขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากเรื่องนี้ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้เป็นกระดูกสันหลัง ของชาติโดยตรง...!!!
ข้อมูลเชิงลึก....มาจากพวกเราๆกันเอง ซึ่งตัวแทนนำเข้าปุ๋ยเคมีพยายามสกัดกั้นไม่ให้ บริษัทจำหน่ายปุ๋ยเคมีในต่างประเทศ จำหน่ายแม่ปุ๋ยให้กับภาครัฐ เพื่อต้องการควบคุมกลไกตลาดไว้ในกลุ่ม จะได้ควบราคาไว้เองอย่างหน้าเลือด
ล่าสุด นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และ กรมวิชาการเกษตร ร่วมหารือกับ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สำรวจปริมาณความต้องการปุ๋ยเคมีของเกษตรกร เพื่อนำมาศึกษารูปแบบและ วิธีการนำเข้าแม่ปุ๋ยเคมี เพื่อมาผสมเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ
เพื่อนำเรื่องเสนอ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) อนุมัติให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ดำเนินการสั่งซื้อแม่ปุ๋ยมาจำหน่ายแก่เกษตรกรโดยตรง
นายอภิชาติ จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยว่า ทางสศก.ได้สรุป แนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาใน 4 แนวทาง คือ เจรจากับประเทศผู้ส่งออกปุ๋ยเคมี ให้ลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือจีทูจี เพื่อนำสินค้าเกษตรไปแลกเปลี่ยนกับปุ๋ยเคมี แนวทางต่อมาให้ หาแหล่งทุนให้กับกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ในการไปซื้อปุ๋ย มาให้เกษตรกรเพื่อกีดกันพ่อค้าคนกลาง แนวทางที่สามให้ เพิ่มประสิทธิภาพการ ใช้ปุ๋ยเคมีให้ถูกวิธี และ ประหยัด
และแนวทางสุดท้ายให้ กรมวิชาการเกษตร เพิ่มความถี่ในการ สุ่มตรวจสอบปุ๋ยเคมีในท้องตลาด ให้มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา ปุ๋ยปลอม
หันมามองทางเกษตรกรเขาทำกันอย่างไร เมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้น นางสาวเข็มวลีย์ อรุณขจรศักดิ์ เกษตรกรชาวไร่อ้อย ในตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี บอกว่า เมื่อปุ๋ยเคมีราคาแพงขึ้น ก็หันไปมองหาปุ๋ยชนิดอื่นมาทดลองใช้จึงได้พบกับ “ปุ๋ยซูเรีย” สูตร 30-0-0 ซึ่งสามารถนำมาใช้แทนปุ๋ยยูเรียได้ เริ่มทดลองใช้ปุ๋ยซูเรียมาได้ประมาณ 9 เดือน บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษ
จากพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมดกว่า 54 ไร่ รู้สึกว่าดีมาก อย่างเช่น ลำต้นใหญ่กว่าเดิม ใบใหญ่แข็ง มีสีเขียวนาน ที่สำคัญไม่มีปัญหาตัว หนอน มากัดกินใบหรือ โรคหนอนกอ ที่ชาวไร่อ้อยรู้จักกันดี...
โดยมีการทดลองใช้ซูเรียจะอยู่ติดกับแปลงอ้อยเดิม เพื่อจะได้เปรียบเทียบให้เห็นถึง ความแตกต่างระหว่างการใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งสอง จากนั้นได้ตรวจสอบปริมาณน้ำหนัก และความหวานพบว่าซีซีเอส (ccs) มากกว่า 15 บริด ซึ่งเป็นที่ต้องการของทางโรงงานน้ำตาล
นางสาวเข็มวลีย์บอกว่า “......ปกติการลงทุนปลูกอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 3-4 พันบาทต่อไร่ ใช้เวลา 10 เดือน ถึงจะตัดได้ ที่ผ่านมาผลผลิตต่อไร่จะอยู่ที่ประมาณ 16-20 ตันอ้อย ปีที่ผ่านมาราคาอยู่ที่ 800 บาทต่อตันอ้อย แต่ปีนี้ราคาตกเหลือ เพียง 600 กว่าบาท คิดว่าซูเรียก็น่าจะเป็นทางออกหนึ่งที่ช่วยในจุดนี้ได้....”
ขณะที่ นายสรรพ์ บุญเจริญ นักวิจัยในภาคเอกชนได้พูดถึงผลในทางวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ปุ๋ยซูเรียใช้ได้ดีเพราะว่าซิลิคอนเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต และมีความสัมพันธ์กับพืชอยู่ในส่วนของเซลลูโลสของผนังเซลล์ทำให้ลำต้นพืชตั้งตรง โดยเฉพาะพืชตระกูลหญ้าจำพวกข้าวและอ้อยที่สามารถดูดนำซิลิคอนจากดิน มาใช้ในปริมาณ ที่มากกว่าพืชชนิดอื่น เมื่อเติมปุ๋ยซูเรียลงไปในดินจึงเป็นการ เติมซิลิคอน ให้เป็นอาหารพืชได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ซูเรียยังช่วยในการต้านทานโรคและลดระดับการทำลายของหนอนกอ ซึ่งเป็นปัญหาหนักอกของชาว ไร่อ้อยมานาน ที่สำคัญยังช่วยให้อ้อยทนแล้งได้ดีอีกด้วย
“....จากการวิเคราะห์พบว่าการปลูกอ้อย 12 เดือนต้นอ้อยจะมีธาตุซิลิคอนสะสม 60.8 กิโลกรัมต่อไร่ และมีรายงานว่า การใช้ซิลิคอนในการปลูกอ้อย แต่ละพื้นที่ทั่วโลก จะช่วยทำให้ผลผลิตต่อไร่และปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูง กว่าพื้นที่อื่นที่ไม่มีการใช้ ซิลิคอน”.... นายสรรพ์ ให้ข้อมูลว่าอย่างนั้น
หากเกษตรกรชาวไร่อ้อย ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กริ๊งกร๊างหา เข็มวลีย์ ได้ที่ 08-5123-8666...ได้ทุกเวลา
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 5 มีนาคม 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=81216