͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

สศก.ชี้อนาคต"กระเจี๊ยบ-ดอกคำฝอย-กราวเครือขาว" โอกาสทางการตลาดสูง-แน่เร่งพัฒนาเพิ่มมูลค่าสินค้า

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 51

สศก.ชี้อนาคต"กระเจี๊ยบ-ดอกคำฝอย-กราวเครือขาว" โอกาสทางการตลาดสูง-แน่เร่งพัฒนาเพิ่มมูลค่าสินค้า นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ได้ทำการวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพร ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง ดอกคำฝอยและกวาวเครือขาว เนื่องจากเห็นว่าเป็นสมุนไพรที่มีลู่ทางการตลาด มีโอกาสที่จะพัฒนาทางการค้าค่อนข้างมาก ซึ่งผลการศึกษาพบว่า แหล่งผลิตสมุนไพรเหล่านี้อยู่กระจัดกระจาย เป็นการปลูกแบบพื้นบ้านไม่ใช่แหล่งผลิตขนาดใหญ่เพื่อการอุตสาหกรรม เกษตรส่วนใหญ่ปลูกกระเจี๊ยบแดงและดอกคำฝอยในลักษณะเกษตรอินทรีย์ในปริมาณไม่มากนัก

ทั้งนี้กระเจี๊ยบแดงมีต้นทุนการผลิตที่ก.ก.ละ 33 บาท ราคาที่ขายได้เฉลี่ยก.ก.ละ 96 บาท มีกำไร 1.87 เท่าของต้นทุนการผลิต มีตลาดรับซื้อที่แน่นอน แต่จะมีความผันผวนของราคาตามปริมาณการผลิต ส่วนดอกคำฝอยมีต้นทุนการผลิต ก.ก.ละ 292 บาท ขายได้ก.ก.ละ 370 บาท มีกำไรร้อยละ 27 ของต้นทุนการผลิต แต่ตลาดยังจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้รู้สรรพคุณเท่านั้นจึงยังไม่เหมาะที่จะลงทุนขยายพื้นที่ปลูกมากนัก เช่นเดียวกับกวาวเครือขาวที่ตลาดยังไม่มีความชัดเจนเพราะมีการปลูกน้อยมาก ส่วนใหญ่มีการลักลอบขุดจากป่ามาขาย เนื่องจากการลงทุนปลูกในปีแรกใช้เงินประมาณไร่ละ 4-5 หมื่นบาท บางแห่งอาจลงทุนถึงไร่ละ 1 แสนบาท ขึ้นอยู่กับราคาต้นพันธุ์และวัสดุที่ใช้

ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด มีความชัดเจนและสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเห็นควรเร่งรัดให้มีการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด สนับสนุนการแปรรูปให้มีความหลากหลายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม วิจัยตลาดถึงความต้องการและพฤติกรรมการบริโภค เพื่อขยายช่องทางการจำหน่าย

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=97725

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology