͢¢ԷҡѧPostharvest Technology Information NetworkPostharvest TechnologyɵҪԡ͢纺촡ɵҹŧҹԨ

แนะนำหน่วยงาน

  • หน้าหลัก
  • ประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ
  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • โครงสร้างการบริหาร
  • คณะกรรมการอำนวยการ
  • คณะกรรมการบริหาร
  • ภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย
  • ติดต่อศูนย์ ฯ

บริการต่าง ๆ

  • PHTNET E-Learning
  • Postharvest Newsletter
  • เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • รายชื่อผู้ประกอบการ
  • ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ
  • หลักสูตรวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
  • รูปภาพความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร และระเบียบการส่งออก
  • ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • กรมส่งเสริมการเกตร
  • กรมวิชาการเกษตร
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • อุตุนิยมวิทยาเพื่อการเกษตร
  • สมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ
  • ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)

หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน

พิษภัยแล้งหอมมะลิทุ่งกุลาวูบหนัก "สารคาม" ขอชดเชยพืชเกษตร 100 ล้าน

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 51

พิษภัยแล้งหอมมะลิทุ่งกุลาวูบหนัก "สารคาม" ขอชดเชยพืชเกษตร 100 ล้าน โลกร้อน-ภัยแล้งพ่นพิษ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ลดวูบ ผลผลิตข้าวเมืองมหาสารคามลดฮวบมีไม่ถึง 2 หมื่นตัน ด้านจังหวัดอนุมัติงบฯกว่า 30 ล้านเร่งแก้ปัญหาภัยแล้ง พร้อมยื่นของบฯชดเชยพืชเกษตรเสียหายกว่า 100 ล้าน นักวิชาการชี้ภาวะโลกร้อนส่อเค้ารุนแรงกระทบเศรษฐกิจรากหญ้าฉุดผลผลิตการเกษตรลดต่ำ ขณะที่สองมหาวิทยาลัยท้องถิ่นเร่งจัดสัมมนาให้ความรู้ภาวะโลกร้อนแก่ประชาชน

นายบรรหาญ สุวรรณพันธุ์ เกษตรอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงภาวะผลผลิตข้าวหอมมะลิฤดูกาลผลิตปี 2550/2551 ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ว่า ความผันผวนของสภาพอากาศติดต่อกันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วงติดต่อกันหลายปี ส่งผลให้นาข้าวหอมมะลิได้รับความ

เสียหายเป็นจำนวนมาก เช่นปี 2549/2550 เขตทุ่งกุลาร้องไห้ครอบคลุม 9 ตำบลของ อ.พยัคฆภูมิพิสัย เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของ จ.มหาสารคาม มีเนื้อที่กว่า 1 แสนไร่ ได้รับความเสียหายถึง 75,371 ไร่

สำหรับฤดูกาลผลิตปี 2550/2551 เสียหายไปแล้วกว่า 5.6 หมื่นไร่ คงเหลือพื้นที่นาข้าวหอมมะลิที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เพียง 5.4 หมื่นไร่เศษเท่านั้น ได้ผลผลิตประมาณ 1.9 หมื่นตัน ผลกระทบที่ชัดเจนคือผลผลิตต่อไร่ลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อปีก่อนที่ข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ อ.พยัคฆภูมิพิสัย ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลกและระดับประเทศโดยมีผลผลิตต่อไร่สูง

"สถานการณ์น่าเป็นห่วงมาก เพระปริมาณน้ำฝนที่ตกในทุ่งกุลาร้องไห้ลดน้อยลงเรื่อยๆ แนวทางการช่วยเหลือจะต้องพัฒนาระบบชลประทานและขุดลอกแหล่งน้ำในเขตทุ่ง

กุลาร้องไห้ ให้สามารถเก็บกักน้ำเพียงพอต่อการทำนา และปีนี้ทางสำนักงานเกษตรอำเภอได้ทำเรื่องขอเงินชดเชยไปทางจังหวัดไร่ละ 142 บาทกรณีที่เสียหายบางส่วน" เกษตรอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยกล่าว

รายงานข่าวจากจังหวัดมหาสารคามระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้มีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือภัยแล้งทั้ง 13 อำเภอของ จ.มหาสารคาม โดยขอรับการสนับสนุนเงินทดลองราชการจากจังหวัดจำนวน 50 ล้านบาท เนื่องจากภัยแล้งยังไม่ยุติและประชาชนได้รับความเดือดร้อนพืชผลการเกษตรเสียหาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือโดยมีหลายโครงการ เช่น ซ่อมบ่อบาดาล เป่าล้าง ซ่อมประปา กระสอบทราย เปิดทางน้ำ วงเงินกว่า 30 ล้านบาท

ส่วนการช่วยเหลือพืชเกษตรที่เสียหายทั้งจังหวัดฤดูการผลิตปี 2549/2550 ได้ขอรับการสนับสนุนไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กว่า 100 ล้านบาท โดยกำหนดให้มีการจ่ายเงินชดเชยกรณีข้าวเสียหายบางส่วนไร่ละ 142 บาท และ เสียหายสิ้นเชิงไร่ละ 414 บาท

ด้าน รศ.ดร.วินัย วีระวัฒนานนท์ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า สภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนไปเกิดปัญหาภัยแล้ง อากาศ

แปรปรวน และโลกร้อนขึ้นกำลังส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ดังนั้นปัญหาโลกร้อนไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวอีกต่อไป โดยเฉพาะเกษตรกรชาวไร่ชาวนาได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะปรากฏชัดเจนว่าผลผลิตการเกษตรลดลง รายได้เข้าครัวเรือนก็ลดลงเช่นกัน

"มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนจัดสัมมนาให้ความรู้ปัญหาโลกร้อนไปแล้วหลายครั้ง เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนตื่นตัวในการลดปัญหาโลกร้อน รวมถึงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคอีสาน เพราะภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบให้ผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนลดน้อยลง" รศ.ดร.วินัยกล่าว

รศ.ดร.สมเจตน์ ภูศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เปิดเผยกรณีเดียวกันนี้ว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์และสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมมี นโยบายที่จะลดภาวะโลกร้อน จึงเตรียมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการการมีส่วนร่วมช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันเพราะทุกคนได้รับผลกระทบหมดโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02phu03250251&day=2008-02-25§ionid=0211

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
  • รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
  • ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
  • กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
  • ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
  • เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
  • ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
  • "เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น
  • ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    Postharvest Technology Innovation Center

    เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว | ข่าวเกษตร | บทความ | ฐานข้อมูลงานวิจัย | วีดีโอ | Postharvest Technology