บทคัดย่องานวิจัย

การใช้เมทิลจัสโมเนทในการลดการเกิดสีน้ำตาลของฝักกระเจี๊ยบเขียว

พนิดา บุญฤทธิ์ธงไชยและ ศิริชัย กัลยาณรัตน์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43 (3พิเศษ):292-295. 2555.

2555

บทคัดย่อ

การใช้เมทิลจัสโมเนทในการลดการเกิดสีน้ำตาลของฝักกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักในเขตร้อนที่มีความไวต่อการเก็บรักษาที่อุณหูมิต่ำกว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมทำให้เกิดอาการสะท้านหนาวได้ในการทดลองนี้ศึกษาผลของเมทิลจัสโมเนทต่อการเกิดอาการสะท้านหนาวในกระเจี๊ยบเขียวโดยรมกระเจี๊ยบเขียวด้วยเมทิลจัสโมเนทที่ความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม),10-1, 10-2และ 10-3โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 25องศาเซลเซียส เป็นเวลา16 ชั่วโมง และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12วัน (ความชื้นสัมพันธ์ 90-95%) พบว่า การรมด้วยเมทิลจัสโมเนท สามารถลดการสูญเสียน้ำหนัก ชะลอการเปลี่ยนแปลงสีและลดการเกิดอาการสะท้านหนาวเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมได้อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยกรรมวิธีควบคุม กระเจี๊ยบเขียวสูญเสียน้ำหนัก 3.89-15.77% และกรรมวิธีรมด้วยเมทิลจัสโมเนทที่ทุกความเข้มข้น กระเจี๊ยบเขียวสูญเสียน้ำหนัก 2.58-13.37% นอกจากนี้ยังสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงสี โดยจะชะลอการเพิ่มขึ้นของค่า L*, a*, b*และชะลอการลดลงของค่า hue อีกด้วย นอกจากนี้พบว่าการเกิดสีน้ำตาลบนฝักกระเจี๊ยบเขียว และค่าดัชนีการเกิดอาการสะท้านหนาวเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา ซึ่งกระเจี๊ยบเขียวที่รมด้วยเมทิลจัสโมเนทความเข้มข้น 10-1และ 10-2โมลาร์ มีคะแนนการเกิดอาการสะท้านหนาว 1.75 และ 2.08 คะแนน และมีลักษณะการเกิดอาการสะท้านหนาวมากกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ฝักกระเจี๊ยบเขียวทั้งหมดในวันที่ 12และเกิดลักษณะเดียวกันนี้ในฝักกระเจี๊ยบเขียวที่รมด้วยเมทิลจัสโมเนทที่ความเข้มข้น 10-1โมลาร์ และชุดควบคุม โดยมีคะแนนการเกิดอาการสะท้านหนาว คือ 2.25และ 2.75 ในวันที่ 9 และ 6 ตามลำดับ จากผลการทดลองทำให้ทราบความเข้มข้นที่เหมาะสมของเมทิลจัสโมเนทสำหรับการลดการเกิดอาการสะท้านหนาวในกระเจี๊ยบเขียว