บทคัดย่องานวิจัย

ผลของอายุการเก็บเกี่ยวของเหง้าขิงต่อปริมาณ 6-gingerol และคุณสมบัติการต้านออกซิเดชัน

ธิดารัตน์ พีรภาคย์ และศศิธร ตรงจิตภักดี

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 287-290 (2554)

2554

บทคัดย่อ

ผลของอายุการเก็บเกี่ยวของเหง้าขิงต่อปริมาณ 6-gingerol และคุณสมบัติการต้านออกซิเดชัน

 

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอายุการเก็บเกี่ยวต่อปริมาณ 6-gingerol และสมบัติการต้านออกซิเดชันของขิง โดยเก็บเกี่ยวเหง้าขิงสดที่มีอายุ 4, 6, 8, 10, 12 และ 14 เดือน หลังการย้ายปลูก และศึกษาปริมาณ 6-gingerol ด้วยวิธี high performance thin layer chromatography (HPTLC)  รวมทั้งศึกษาสมบัติการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี  total phenols assay และ 2, 2-diphenly-1-picrylhydrazyl(DPPH) radical scavenging assayจากผลการทดลองพบว่า เมื่อขิงแก่มากขึ้นจะมีปริมาณ 6-gingerol และสมบัติการต้านออกซิเดชันเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เหง้าขิงที่มีอายุ 12 เดือน และ 14 เดือนมีปริมาณ 6-gingerol และสมบัติการต้านออกซิเดชันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P>0.05)  โดยขิงที่มีอายุ 12และ 14 เดือน มีปริมาณ 6-gingerol ในช่วง 17.1 ถึง17.5 มิลลิกรัมในตัวอย่าง 1 กรัมน้ำหนักแห้ง ในขณะที่ปริมาณฟีนอลทั้งหมดและสมบัติการต้านอนุมูล DPPH มีค่าในช่วง 30.9ถึง 31.2 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิคในตัวอย่าง 1 กรัมน้ำหนักแห้ง และ 27.9ถึง 28.3มิลลิกรัมสมมูลกรดแอสคอร์บิกในตัวอย่าง 1กรัมน้ำหนักแห้ง  ตามลำดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างปริมาณ 6-gingerol และสมบัติการต้านออกซิเดชัน (r>0.877)