บทคัดย่องานวิจัย

จลนศาสตร์การอบแห้งและคุณภาพหลังการอบของใบโรสแมรี่ ดอกลาเวนเดอร์ และกลีบดอกกุหลาบ

พิชญา บุญประสม อัจฉราพร อภิวงค์งาม และ ยงยุทธ เฉลิมชาติ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 544-547 (2553)

2553

บทคัดย่อ

จลนศาสตร์การอบแห้งและคุณภาพหลังการอบของใบโรสแมรี่ ดอกลาเวนเดอร์ และกลีบดอกกุหลาบ

 

งานวิจัยนี้ศึกษาสมการจลนศาสตร์ของการอบแห้งใบโรสแมรี่ ดอกลาเวนเดอร์ และกลีบดอกกุหลาบ โดยทำการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองของLewis, Henderson & Pabis และ Page  ได้ทำการทดลองอบแห้งใบโรสแมรี่ ดอกลาเวนเดอร์ และกลีบดอกกุหลาบที่อุณหภูมิ 50oC โดยใช้ความเร็วลมคงที่ที่ 0.5 m/s ด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบถาด  โดยใบโรสแมรี่ ดอกลาเวนเดอร์ และกลีบดอกกุหลาบมีความชื้นเริ่มต้นประมาณ 316.67%, 354.55% และ 455.56% มาตรฐานแห้ง ตามลำดับ พบว่าแบบจำลองของPage จะให้ผลดีที่สุดในการทำนายจลนศาสตร์การอบแห้งใบโรสแมรี่ ดอกลาเวนเดอร์ และกลีบดอกกุหลาบสำหรับกระบวนการอบแห้งที่อุณหภูมิ50 องศาเซลเซียส  คุณภาพหลังการอบใบโรสแมรี่ ดอกลาเวนเดอร์ และกลีบดอกกุหลาบ ที่ทำการตรวจวัดคือ สี ความชื้นก่อนอบและหลังอบ ปริมาณน้ำ-อิสระ (aw)ปริมาณเถ้าทั้งหมด ปริมาณแทนนิน ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด ปริมาณยีสต์และรา ปริมาณโคลิฟอร์มและอี.โคไล จากการเปรียบเทียบคุณภาพหลังการอบแห้งของใบโรสแมรี่ ดอกลาเวนเดอร์ และกลีบดอกกุหลาบ โดยใช้เครื่องอบแห้งลมร้อนแบบถาด เปรียบเทียบกับเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และเครื่องอบแห้งไมโครเวฟสุญญากาศแบบถังหมุน พบว่าคุณภาพหลังการอบด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ด้อยไปกว่าคุณภาพหลังการอบด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบถาดและผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังการอบทั้ง 3 วิธีมีความชื้นต่ำว่าร้อยละ 7