บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในผลอ่อนของผักพื้นบ้านบางชนิด

มาระตรี เปลี่ยนศิริชัย ยุทธจักร จันทศิลป์ และ วาริชัย พิมพ์บุตร

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 47-50 (2553)

2553

บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในผลอ่อนของผักพื้นบ้านบางชนิด

ผักพื้นบ้านเป็นพืชที่มีความปลอดภัยจากสารพิษ มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในปริมาณมาก ทำให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหรือต้านทานโรค ส่วนของผักพื้นบ้านที่นำมาบริโภคมีทั้งใบ ดอก และ ผล แต่การศึกษาปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผลอ่อนยังขาดแคลน งานวิจัยนี้ศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด  และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในผลอ่อนของผักพื้นบ้านจำนวน 15 ชนิด คือ กล้วยน้ำว้า ขนุน ขนุน  านยังขาดแคลน แคบ้าน ขี้เหล็กหวาน ถั่วแปบ ถั่วแระ โสน แตงโม บวบหอม น้ำเต้า  มะม่วง  มะขาม  มะเฟือง ฟักทอง และกระถิน โดยเก็บตัวอย่างจากจังหวัดมหาสารคาม สกัดปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด  และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยเมทานอลความเข้มข้น 50% วัดด้วยเครื่อง Spectrophotometerวิเคราะห์ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH (2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl) พบว่าฝักของกระถินมีปริมาณฟีนอลิก (663 mgGAE/100gfw)  สูงสุดและไม่แตกต่างกันทางสถิติกับถั่วแระ (635 mgGAE/100gfw) ขณะที่มะม่วงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด (86.67%) ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกระถิน (81.81%) และกล้วยน้ำว้า (81.71%)  ดังนั้นสรุปได้ว่าผลอ่อนของผักพื้นบ้านที่นำมาศึกษามีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกันสูงตามชนิดของพืชโดยกระถินมีทั้งปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด