บทคัดย่องานวิจัย

ผลของ PDJ (n-propyl dihydro jasmonate) ต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แอนโทไซยานินและเอ ทิลีนในเปลือกผลแอปเปิล

สุวัจนา ประกอบทรัพย์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.81หน้า.2548.

2548

บทคัดย่อ

ผลของ PDJ (n-propyl dihydro jasmonate) ต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แอนโทไซยานินและเอ ทิลีนในเปลือกผลแอปเปิล

ผลแอปเปิลที่มีสีแดงสดซึ่งเกิดจากการสะสมของสารสีแอนโทไซยานินในผิวเปลือกของผลในช่วงที่ผลเข้าสู่ระยะการสุกแก่ มีผลต่อการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและด้านการวางจำหน่าย อย่างไรก็ตามกระบวนการเขตกรรม ชนิดของพันธุ์ และ/ หรือ ช่วงในการเก็บเกี่ยว อาจมีผลต่อสีของแอปเปิล ในการทำการทดลองใช้ผลแอปเปิลพันธุ์ฟูจิ (เป็นพันธุ์ที่มีสีแดงส้ม) ที่เก็บเกี่ยวในช่วงผลแก่แต่ยังไม่เปลี่ยนเป็นสีแดง (180 วัน หลังดอกบาน) และแอปเปิลเหลืองพันธุ์ออริน (180 วัน หลังดอกบาน) มาจุ่มสาร n-propyl dihydro jasmonate(PDJ) ที่ความเข้มข้น 200 มก./ลิตร นาน 1 นาที แล้วนำมาบ่มที่อุณหภูมิ 15 และ 25 ซO เป็นเวลา 10 วัน พบว่าผิวของแอปเปิลที่จุ่มสาร PDJทั้งสองพันธุ์มีค่า Hue angle สูงขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาสีแดงมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผลที่ไม่จุ่มสาร การบ่มที่อุณหภูมิต่ำที่ 15 ซช่วยในการพัฒนาสีแดงได้ดียิ่งขึ้น PDJมีผลต่อการเพิ่มการสะสมของสารสีแอนโทไซยานินชนิด cyaniding-3-galactoside ในเปลือกผลและสัมพันธ์กับการเพิ่มการแสดงออกของยีน UFGluT เมื่อเปรียบเทียบกับยีนในกระบวนการสังเคราะห์แอนโทไซยานินตัวอื่นๆ (CHS, F3H, DFR, และ ANS) นอกจากนี้ PDJ  ยังลดปริมาณสาร 1- amino cyclopropane-1-carboxylic acid (ACC; สารตัวกลางของการผลิตเอทิลีน) ในเปลือก และชักนำของการผลิตเอทิลีนของผลแอปเปิลพันธุ์ออลินในระยะ climacteric ซึ่งการใช้ PDJทำให้เพิ่มปริมาณของ ACO1, และ ACS5 mRNA ในเปลือกผลระยะpreclimacteric และACO1 ในเปลือกผลระยะ climactericดังนั้นสาร PDJซึ่งเป็น jasmonic acid analog ตัวหนึ่งสมารถนำมาใช้เร่งการพัฒนาสีแดงของผิวของผลแอปเปิลหลังการเก็บเกี่ยวได้