บทคัดย่องานวิจัย

ผลของน้ำสกัดว่านหางจระเข้ร่วมกับไคโตซานต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลมะนาว

รักษา อิสรคัมภีร์

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2545. 193 หน้า.

2545

บทคัดย่อ

ผลของน้ำสกัดว่านหางจระเข้ร่วมกับไคโตซานต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาผลมะนาว

Aspergillus sp. และ Penicillium sp. เป็นเชื้อสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่แยกได้จากผลมะนาวพันธุ์แป้นที่เกิดโรค เมื่อทดสอบผลของวุ้นและเปลือกของว่านหางจระเข้ (A1oe vera) กับเชื้อ Aspergillus sp. และ Penicillium sp. พบว่าการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ความเข้มข้น 30 และ 40 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตรของอาหารเลี้ยงเชื้อ malt extract agar (MEA) สามารถยับยั้งการเจริญูของเส้นใยเชี้อราทั้งสองชนิดได้ดีกว่าการใช้เปลือกของวานหางจระเข้และชุดควบคุมมที่มีเฉพาะอาหารเลี้ยงเชื้อ MEA

เมื่อนำส่วนของวุ้นและเปลีอกว่านหางจระเข้ความเข้มข้น 0, 10, 20, 30 และ 40 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตรมาเคลือบผิวผลมะนาวพันธุ์แป้น แล้วเก็บรักษาที่ 25 และ 10 องศาเซลเซียส พบวาผลมะนาวที่เคลือบด้วยส่วนของวุ้นวานหางจระเข้ให้ผลในการยืคอายุการเก็บรักษาได้ดีกว่าผลที่เคลือบด้วยส่วนของเปลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลมะนาวที่เคลีอบด้วยส่วนของวุ้นความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลมะนาวที่25 และ 10 องศาเซลเซียส ออกไปได้นาน 28 และ 77 วัน เมื่อเทียบกับชุดควบคุมซึ่งมีอายุการเก็บรักษาเพียง 20 และ 42 วัน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังสามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนัก ชะลอการเปลี่ยนแปลงของคะแนนสีผิว และการเปลี่ยนแปลงของค่า L* a* b* c* และ h ได้ โดยปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ของน้ำมะนาวมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่ผลมะนาวที่เคลื่อบด้วยส่วนของเปลือกว่านหางจระเข้ทุกความเข้มข้นเกิดโรคมากกว่าชุดควบคุมทั้งที่อุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซลเซียส

การใช้วุ้นวานหางจระเข้ความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับไคโตซาน 0.5 เปอร์เซ็นต์เคลือบผล พบว่าสามารถยืดอายุการเก็บรักษาที่ 25 และ 10 องศาเซลเซียสได้ 30 และ 91 วัน ตามลำดับ โดยสามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนัก การเปลี่ยนแปลงสีผิว การเปลี่ยนแปลงของปริมาณวิตามินซี การเปลี่ยนแปลงของปริมาณคลอโรฟีลล์เอ คลอโรฟีลล์บี และคลอโรฟิลล์ทังหมคได้ดีกว่า ชุดที่เคลือบผิวด้วยไคโตซานหรือวุ้นว่านหางจระเข้เพียงอย่างเดียว และชุดควบคุม

เมื่อทำการทดสอบผลของว่านหางจระเข้และไคโตซานกับเชื้อ Aspergillus sp. และ Penicillium sp. บน MEA ที่ผสมวุ้นว่านหางจระเข้ความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ ไคโตซานความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ และวุ้นว่านหางจระเข้ความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับไคโตซาน 0.5 เปอร์เซ็นต์ พบว่าอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมสารเคลือบผิวทั้ง 2 ชนิดร่วมกันสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราทั้งสองชนิคได้ดีที่สุด คือสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Aspergillus sp. ได้ 52.1 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อรา Penicillium sp. ได้ 50.6 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคืออาหารที่ผสมน้ำสกัดวุ้นว่านหางจระเข้ควานเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถลดความยาวของ germ tube และจำนวนสปอร์ที่งอกของเชื้อราทั้ง 2 ชนิดได้

เมื่อแยกสารจากวุ้นว่านหางจระเข้ความเข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ด้วย thin layer chromatography จากนั้นพ่นด้วยน้ำยาตรวจสอบแอซิติกแอนไฮดราย/กรดซัลฟิวริกเข้มข้น พบแถบสีบนโครมาโตแกรมที่แยกได้เป็นแถบสีชมพูม่วงมีค่า Rf = 0.95 และแถบสีเขียวมีค่า Rf = 0.85 เมื่อนำแถบที่ได้ข้างต้น นำมาละลายด้วยเมธานอลและไดคลอโรมีเทน 50:50 ปริมาตรโดยปริมาตร แล้วทดสอบกับเชื้อราทั้ง 2 ชนิดด้วยวิธี agar plate test พบวงใสจากกระดาษกรองที่ชุบสารจากโครมาโตแกรมที่แยกเป็นแถบสีชมพูม่วง แต่ไมพบวงใสจากแถบโครมาโตแกรมสีเขียว